Freigegeben Surachai sofort und ohne Bedingungen.

The law is silent @ the time of war.Liberate Thailand to Frees.‎Our real enemy is monarchy system.

วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2555

หลักฐานประวัติศาสตร์ ที่เหลืออยู่ กรณีสวรรคตรัชกาลที่ ๘

กรณีสวรรคตรัชกาลที่ ๘ แม้ว่าจะจบสิ้นไปแล้วตามกระบวนการยุติธรรม
 แต่คดีลี้ลับนี้ไม่เคยปิดสำนวนลงตามคำพิพากษาแต่อย่างใด 
โดยเฉพาะบทสรุปของเรื่องที่ไม่สมบูรณ์ ตามความในคำพิพากษาศาลฎีกา
"พยานสองชุดนี้ยังไม่เป็นหลักฐานพอจะชี้ได้ว่า 
ใครเป็นผู้ลงมือกระทำการลอบปลงพระชนม์"
นี่คือที่มาสำคัญที่ทำให้คดีนี้เป็นที่สนใจมาตลอดทุกครั้งที่พูดถึง
จาก วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙ จนถึงวันนี้เป็นเวลา ๕๗ ปี 
นอกจากเอกสารสิ่งพิมพ์แล้ว ยังมีสิ่งที่ช่วยเชื่อมโยงอดีต 
ย้ำเตือนความมืดดำมาสู่ปัจจุบัน คือวัตถุหลักฐานที่ใช้ประกอบ
ในการพิจารณาคดีนี้ ซึ่งถูกเก็บรักษาไว้ ราวกับรอคอย
ให้ปริศนาแห่งคดีเปิดเผยสัจจะมาในวันใดวันหนึ่งข้างหน้า 
ตามคำของนายปรีดี พนมยงค์ ที่เคยกล่าวไว้
"...เพราะเป็นเรื่องประวัติศาสตร์ที่ไม่มีอายุความ 
ความจริงอาจปรากฏขึ้น แม้จะล่วงเลยมาหลายร้อยปีก็ตาม"
วัตถุ หลักฐานส่วนหนึ่งในคดีนี้ที่ยังปรากฏมาถึงปัจจุบัน 
และเปิดเผยต่อสาธารณชน ถูกจัดแสดงอยู่ภายในโรงพยาบาลศิริราช
 ที่พิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์ อาคารอดุลยเดชวิกรม 
หรือที่รู้จักกันอย่างลำลองว่า "พิพิธภัณฑ์ซีอุย" เหตุที่ได้ชื่อนี้
ก็เพราะพระเอกของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ "ซีอุย แซ่อึ้ง" 
ฆาตกรต่อเนื่องชื่อดังที่สุดของเมืองไทย สร้างคดีสยองขวัญ
ในช่วงปี ๒๕๐๑ ในการฆ่าเด็กแล้วกินตับ และหัวใจ 
ถูกเก็บรักษาศพไว้ที่นี่ให้คนรุ่นหลังได้รู้จัก
พิพิธภัณฑ์ซีอุยเคย จัดแสดงอยู่ชั้นล่างของตึกนิติเวชเก่าภายในโรงพยาบาล
 บรรยากาศทึมๆ ชวนขนลุก แต่เดี๋ยวนี้มีการปรับปรุงใหม่บนชั้นสอง
ของอาคารอดุลยเดชวิกรม สว่างไสวลดบรรยากาศสยองขวัญไปได้หมดสิ้น 
นอกจาก "ซีอุย" แล้วยังมีการจัดแสดงทางด้านนิติเวชอื่นๆ
 คือการรวบรวมตัวอย่างชิ้นส่วนมนุษย์ วัตถุพยาน 
อันเนื่องมาจากการฆาตกรรม และอุบัติเหตุ เพื่อใช้เป็นกรณีศึกษาต่างๆ 
ประเภท "สืบจากศพ" นั่นเอง รวมทั้งวัตถุหลักฐาน
ในชั้นสอบสวนของคดีสวรรคตด้วย
วัตถุหลักฐานในคดีสวรรคตส่วนแรกแสดงอยู่ในตู้ขนาดไม่ใหญ่นัก
 มีคำบรรยายเล็กน้อยพอให้รู้ว่าคืออะไร 
"บางส่วนของเครื่องมือที่ใช้ในการชันสูตรพระบรมศพ
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล"
ภาย ในตู้จัดแสดงเครื่องมือแพทย์ชนิดต่างๆ ๑๑ ชิ้น รวมทั้งอุปกรณ์ประกอบ
คือ ผ้า ไม้บรรทัด ดินสอ ไม่มีคำบรรยายอื่นเพิ่มเติมนอกเหนือจากนี้ 
แต่รายละเอียดของเครื่องมือทั้งหลาย นายแพทย์สุด แสงวิเชียร ได้บันทึก
ไว้ในหนังสือ "เมื่อข้าพเจ้าเข้าไปเกี่ยวข้องกับกรณีสวรรคต" ไว้พอสมควร
"วัน ที่ ๒๑ มิถุนายน มาถึงที่ทำงานก่อน ๘.๐๐ น. เล็กน้อย สำรวจเครื่องมือ
ที่จะนำไป และได้เครื่องมือเพิ่มเติมจากหมอสงกรานต์ด้วย เนื่องจาก
เครื่องมือที่แผนกมีไม่ครบเพราะทำกับศพธรรมดา ไม่เหมาะกับการชันสูตร
เกี่ยวกับหาหลักฐานทางคดี เครื่องมือจากแผนกกายวิภาคศาสตร์ มี
มีดชำแหละ ๒ เล่ม เทปวัดทำด้วยเหล็ก ๑ อัน ถุงมือยางอย่างหนา ๒ คู่
 เลื่อย ๑ ปื้น ทางพยาธิวิทยาให้ยืมเครื่องมือจับกะโหลกมา ๑ อัน 
และถุงมือยางอย่างบาง ๒ คู่ และก่อนจะลงมือชันสูตรพระบรมศพ
ทางโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์นำมีดยาวมา ๑ เล่ม เข็มเย็บผิวหนัง ๑ เล่ม
 เครื่องมือจับเข็ม ๑ อัน ผ้าคลุมปากจมูก ๒ ผืนมาเพิ่มเติมให้
(เครื่องมือบางชิ้นขณะนี้อยู่ที่พิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์ของคณะแพทยศาสตร์
 ศิริราชพยาบาล) นอกจากนั้นก็มีโหลใส่ฟอร์มาลิน ๒๐ เปอร์เซ็นต์-๕๐๐ ซีซี 
แอลกอฮอล์ และน้ำยาแอมโมเนีย (กลัวจะเป็นลม)ทางแผนกกายวิภาคศาสตร์
เอาไฟถ่ายรูปไป ๒ ดวง คุณหมออวยเตรียมกล้องและฟิล์ม" 
(สุด แสงวิเชียร, เมื่อข้าพเจ้าเข้าไปเกี่ยวข้องกับกรณีสวรรคต, ๒๕๒๙)
คง ต้องยกความดีนี้ให้กับนายแพทย์สุด แสงวิเชียร ที่คิดเก็บรักษาหลักฐาน
ทางประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญนี้ไว้ ไม่ปล่อยให้สูญหาย หรือถูกทำลาย
เหมือนกับหลักฐานชิ้นอื่นๆ ในคดีนี้ เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๘ 
ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวในประวัติศาสตร์ประเทศไทย 
ที่ต้องผ่านขั้นตอนการชันสูตรพระบรมศพ เครื่องมือแพทย์เหล่านี้
จึงไม่ใช่แค่ประโยชน์ทางนิติเวชศาสตร์เท่านั้น 
แต่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญยิ่ง
น่าเสียดายตรงที่ว่าการจัดแสดงลำดับความสำคัญกับส่วนนี้
น้อยเกินไป ทั้งทางเนื้อหา และทางจิตใจ
การ ชันสูตรพระบรมศพด้วยเครื่องมือบางส่วนที่พิพิธภัณฑ์จัดแสดงไว้
 เกิดขึ้นที่พระที่นั่งพิมานรัถยา ในพระบรมมหาราชวัง 
เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๔๘๙ ตั้งแต่เวลา ๑๐.๔๕ ถึง ๑๕.๓๐ น.
 มีนายแพทย์สุด แสงวิเชียร และนายแพทย์สงกรานต์ นิยมเสน
 เป็นผู้ทำการชันสูตร
รายงานการชันสูตร อย่างเป็นทางการมีอยู่ใน บันทึกรายงานการประชุม
คณะกรรมการฝ่ายแพทย์ ครั้งที่ ๒ วันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๔๘๙ เวลา ๙.๓๐ น.
ที่ศาลานอกพระที่นั่งพิมานรัถยา แต่ขั้นตอนโดยละเอียดนั้น
นายแพทย์สุด แสงวิเชียร ได้เขียนบันทึกไว้ภายหลังในหนังสือ 
"เมื่อข้าพเจ้าเข้าไปเกี่ยวข้องกับกรณีสวรรคต" ดังนี้
"เวลา สำคัญได้มาถึง เจ้าหน้าที่ฝ่ายสนมซึ่งแต่งตัวนุ่งผ้าม่วงสีน้ำเงิน 
สวมเสื้อคอปิดสีขาวได้เชิญพระโกศลองในปิดทองเกลี้ยงมา 
ทุกคนถวายคำนับแล้วยืนสงบนิ่ง พนักงานสนมเปิดฝาพระโกศออก 
(เข้าใจว่าได้กะเทาะที่บัดกรีออกไว้ก่อนแล้ว) พนักงานเขย่งตัวขึ้นไป
หยิบพระมหามงกุฎ (ยอดหัก) ออกมาก่อน เห็นประดับเพชรแวววาวไปหมด
 เอาห่อผ้าขาวแล้วตีตรา ต่อไปจึงช่วยกันช้อนเอาพระบรมศพออกจากพระโกศ
 เอาขึ้นมาวางบนเตียงใหญ่..."
"...ขณะ นั้นพนักงานสนมแก้เอาด้ายดิบออกซึ่งพันไว้เป็นเปลาะๆ 
แล้วจึงแกะเอาผ้าขาวออก พอเปิดถึงพระพักตร์ก็มีคนดีใจว่า 
ยาฉีดเขาดีพระพักตร์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังสดอยู่ 
แต่ที่จริงเป็นขี้ผึ้งปิดพระพักตร์ มีทองปิดด้วยหรือเปล่าไม่ได้สังเกต
 แล้วก็เปิดถึงผ้าเยียระบับ แต่ลืมไม่ได้สังเกตว่าได้ทำเป็นฉลองพระองค์
เสื้อหรือเปล่า ตามผ้าขาวและผ้าเยียระบับมีพระบุพโพเปื้อนอยู่ทั่วไป 
แต่มีกลิ่นน้อยอย่างประหลาดถึงกับคิดว่าไม่ต้องใส่ผ้ากันปากจมูกก็ได้
 ในพระที่นั่งมีถาดจุดกำยานอยู่ตลอดเวลาแต่ไม่มีพัดลม..."
เรื่อง เกี่ยวกับ ยาฉีดเขาดี ทำให้ไม่มีกลิ่นก็เพราะ
มีการฉีดยาพระบรมศพน้อยกว่ากำหนด ทำให้คณะกรรมการฝ่ายแพทย์
เกรงว่าพระบรมศพอาจจะไม่อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์นัก
"พระยา ดำรงแพทยาคุณสงสัยว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
 อาจถูกยาพิษจึงสั่งไม่ให้ใช้น้ำยาที่ผสมสารหนู 
แพทย์ทั้งสองจึงใช้น้ำเปล่าผสมฟอเมอรีน และคลีโอสถ
ฉีดเข้าทางเส้นโลหิตที่โคนขาขวา โดยตั้งใจว่าจะฉีด ๓,๐๐๐ ซีซี
 แต่เมื่อฉีดไป ๑,๐๐๐ ซีซี ก็มีน้ำยาไหลออกทางรอยแผล
ที่พระนลาตประมาณ ๑๐ ซีซี จึงเลิกฉีด..." 
(สรรใจ แสงวิเชียร, วิมลพรรณ ปีตธวัชชัย, กรณีสวรรคตฯ, ๒๕๑๗)
ขั้น ตอนการชันสูตรนั้นเป็นไปอย่างละเอียดหลายหน้าตามกระบวนการ
 คำให้การในชั้นศาลของนายแพทย์สุด แสงวิเชียร ก็เช่นกัน 
เริ่มตั้งแต่การถ่ายภาพ การเอกซเรย์ ไปจนถึงขั้นตอนสุดท้าย 
คือการนำอวัยวะต่างๆ กลับคืนที่ และเย็บแผลจนเรียบร้อย
 ขั้นตอนโดยย่อพอให้เห็นการใช้เครื่องมือชันสูตรเป็นดังนี้
"พระ บรมศพซีดเซียวลงไปเล็กน้อยแต่ไม่ถึงกับมีกลิ่นรบกวนการชันสูตร
แม้ว่ายาฉีด รักษาพระบรมศพจะน้อยกว่าที่ควร หลังจากตรวจภายนอกแล้ว
 ได้ทำการถ่ายรูปเอ็กซเรย์โดยใช้เครื่องชนิดเคลื่อนที่ได้ 
ทำการถ่ายเอ็กซเรย์ ๙ รูป เอ็กซเรย์เฉพาะพระเศียรไว้ ๔ ท่า 
ท่าคว่ำพระพักตร์ หงายพระพักตร์ทั้งสองด้าน
 ต่อจากนั้นนายแพทย์สุด แสงวิเชียร และนายแพทย์สงกรานต์ นิยมเสน
 ทำการตรวจต่อโดยใช้มีดกรีดผิวหนังจากพระกรรณข้างหนึ่ง
ขึ้นบนพระเศียรจนถึง พระกรรณอีกข้างหนึ่ง แล้วตลบผิวหนัง
ไปจนพ้นรอยบาดแผลด้านหลัง พบรอยแตกที่กลางพระกะโหลก
ทางด้านซ้ายตั้งแต่กลางพระเศียรจนถึงพระกรรณซ้าย 
ผิวหนังเหนือรอยแตกนี้มีรอยแดงช้ำ ตลบหนังพระเศียรไปจนถึงพระนลาต
 รูแผลที่พระนลาตขนาด ๑๑ x ๑๐ มม. มีรอยร้าวออกไปจากรูแผล 
จากนั้นแพทย์ทั้งสองเลื่อยพระกะโหลกส่วนบนแล้วดึงส่วนนั้นออก 
ตัดเยื่อหุ้มสมองภายใน พบพระโลหิตตกเป็นแผ่นแข็งอยู่ทางด้านซ้าย 
พระสมองด้านซ้ายคงดีอยู่ ทางด้านขวาเน่า พบรูที่พระสมองซีกซ้าย
ตรงกับรูที่พระนลาต ทะลุออกไปตรงกับรูที่ท้ายทอย 
ได้ตัดเอาพระสมองออก ที่ฐานพระกะโหลกมีรอยแตกร้าวอีก..." 
(กรณีสวรรคตฯ, น. ๔๐, ๒๕๑๗)
เมื่อการชันสูตรเสร็จสิ้นลง นายแพทย์สุด แสงวิเชียร จึงได้เก็บเครื่องมือ
ชันสูตรนั้นไว้ ทำให้เราได้เห็นหลักฐานชิ้นสำคัญกันในวันนี้
"ก่อน ไปล้างมือได้คุกเข่าลงถวายบังคมกับพื้นขอพระราชทานอภัยโทษ
 แล้วไปล้างมือ พอล้างมือเสร็จ ห่อเครื่องมือตั้งใจจะเอาไปไว้ที่พิพิธภัณฑ์
 (เดิม อยู่ที่พิพิธภัณฑ์กายวิภาค คองดอน ขณะนี้มอบให้เป็นสมบัติของพิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์ พร้อมกับกะโหลก และผิวหนังของศพที่ได้ทดลองยิงในวันต่อมา)..."
ที่มาที่ไปของเครื่องมือชันสูตรพระบรมศพมีโดยสังเขปเท่านี้
ถัด จากตู้เครื่องมือไป จะเป็นตู้แสดงกะโหลกศพที่ใช้ในการทดลองยิง
ตามกระบวนการสืบสวนในคดี เหนือขึ้นไปจะแสดงภาพถ่ายให้เห็นถึงวิถีกระสุน
 เกี่ยวเนื่องกันทางตู้ติดผนังจะเป็นชิ้นส่วนหนังศีรษะของกะโหลกที่แสดงอยู่ 
เป็นการแสดงรอยแผลจากกระสุนปืน ที่มีลักษณะคล้าย 
หรือแตกต่างจากรอยแผลของพระบรมศพ
เหตุผลที่ต้องทดลองยิงศพคนเพิ่ม ขึ้น หลังจากที่ยิงหัวหมูแล้ว
ได้ข้อสรุปที่ไม่ชัดเจน ปรากฏอยู่ในคำพิพากษาศาลฎีกา 
วันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๔๙๗ บันทึกไว้ว่า 
"...ทำการทดลองยิงศพคนที่โรงพยาบาลศิริราช เพื่อทราบระยะยิง
 ที่จะทำให้เกิดบาดแผล เช่นบาดแผลที่พระบรมศพ"
ที่ต้องหาระยะยิง และลักษณะของบาดแผล ก็เป็นผลสืบเนื่องมาจาก
ความสับสนในเรื่องของบาดแผลที่พระบรมศพ 
เนื่องจากแผลที่พระนลาฏ (หน้าผาก) ใหญ่กว่าแผลตรงท้ายทอย
 หลายคนสงสัยว่าอาจถูกยิงจากข้างหลัง และเป็นการหาว่า
จากบาดแผลที่เกิดขึ้นนั้น เกิดขึ้นจากเหตุใดได้บ้าง 
ระหว่างปลงพระชนม์เอง ถูกลอบปลงพระชนม์ และอุบัติเหตุ
ต่อมาจึงได้ ข้อสรุปที่แน่ชัดว่า วิถีกระสุนเข้าทางพระนลาฏ 
ทะลุออกทางด้านหลัง แต่ระยะยิงนั้นเป็นกุญแจสำคัญเช่นกัน
 ในการสันนิษฐานหาสาเหตุที่แท้จริงในกระบวนการสอบสวน เช่น
 หากเป็นการยิงไกลเกินระยะแขน ก็เป็นไปได้ว่า
ไม่ได้เกิดจากพระองค์เอง หรือหากเป็นการยิงในระยะประชิด 
เหตุใดจึงไม่รู้สึกพระองค์ก่อน และคนร้ายเข้าไปในพระวิสูตร
โดยไม่มีใครรู้ได้อย่างไร เป็นต้น
การ ทดลองยิงศพนั้นเกิดขึ้นหลังจากการชันสูตรพระบรมศพ ๑ วัน
 มีการบันทึกข้อมูลอย่างเป็นทางการใน บันทึกรายงาน
การประชุมคณะแพทย์ ครั้งที่ ๓ วันเสาร์ที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๔๘๙ 
เวลา ๑๐.๑๐ น. ที่ห้องตรวจชันสูตรศพ ของแผนกพยาธิวิทยา 
คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล กรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
 มีเนื้อหาโดยสรุปดังนี้
"การ ทดลองได้กระทำในห้องตรวจศพของแผนกพยาธิวิทยา 
คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ของกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
 พื้นห้องเป็นพื้นกระเบื้องซีเมนต์ ศพที่ใช้ทดลองวางอยู่บนที่นอน ๒ ชั้น
 และได้เปลี่ยนเพิ่มเป็น ๓ ชั้น และเพิ่มหมอนรองใต้ที่นอนอันล่างสุดอีก ๑ ใบ
 เมื่อถึงการทดลองศพที่ ๓ ศพนอนหงาย ศีรษะศพวางอยู่บนหมอนใบเดียว 
ที่นอนวางบนเตียงไม้เตี้ยๆ มีแผ่นเหล็ก ๓ แผ่นวางกันกระสุน
อยู่ใต้ที่นอนอันล่าง มีหีบใส่ทรายอยู่ใต้เตียง ความสูงของเตียงและที่นอน
ใกล้เคียงกับพระที่บรรทม ที่นอนที่ใช้ทดลองเป็นที่นอนทั่วๆ ไป
ที่ใช้ตามโรงพยาบาล ยัดนุ่นหลวมกว่าพระที่มาก 
ปืนที่ใช้เป็นปืนสั้นออตอเมติกขนาด ๑๑ มม. 
ซึ่งคณะกรรมการสอบสวนนำมา เจ้าหน้าที่ของคณะกรรมการสอบสวนฯ เป็นผู้ยิง"
ตามบันทึกการทดลองยิงศพในเวลานั้น มีการทดลองทั้งหมด ๗ ครั้ง
 ลักษณะทางกายภาพของศพ และระยะยิงแตกต่างกันออกไป คือ
ศพที่ ๑, ศพดอง เพศชาย อายุ ๑๖ ปี ยิงโดยวิธีให้ปากกระบอกปืน
ติดกับผิวหนัง ยิงทางด้านหน้าตรงตำแหน่งที่พบแผลในพระบรมศพ 
ตรงตามแนวไม้บรรทัดที่จัดให้แนวตรงกับแผลหน้า และแผลหลัง
 ในพระบรมศพ ผู้ยิงปืนยิงอยู่ทางด้านหัวของศพ
ศพที่ ๒, ศพดอง เพศหญิง อายุ ๑๘ ปี ยิงเหมือนการทดลองกับศพแรก
 แต่ระยะยิงห่างจากศพ ๑๐ เซนติเมตร
ศพที่ ๓, ศพดอง เพศชาย อายุ ๑๗ ปี ยิงห่างจากศพ ๕ เซนติเมตร
ศพที่ ๔, ศพดอง เพศหญิง อายุ ๒๒ ปี ยิงทางด้านหน้า
 ปากกระบอกปืนเกือบชิดผิวหนัง
ศพที่ ๕, ศพสด เพศหญิง อายุ ๑๙ ปี ยิงชิดกับผิวหนัง
ศพที่ ๖, ศพสด เพศชาย อายุ ๔๗ ปี ยิงทางด้านหน้า 
ปากกระบอกปืนติดชิดกับผิวหนัง
ศพที่ ๗, ศพดอง เพศชาย อายุ ๒๗ ปี คว่ำหน้าศพวางอยู่บนหมอน
 ยิงจากท้ายทอยไปทางหน้า ผู้ยิงยืนยิงที่ตรงลำตัวของศพ 
ปากกระบอกปืนห่างจากเป้า ๕๐ เซนติเมตร
ผล การทดลองสรุปเป็นความเห็นออกมาว่า 
บาดแผลที่พระบรมศพ มีลักษณะคล้ายคลึงกับศพที่ทดลองยิง
ในระยะติดหรือเกือบชิดผิวหนัง และยิงจากหน้าไปทะลุท้ายทอย
 ภายหลังจึงมีข้อสรุปที่ชัดเจนขึ้นมาอีกว่า 
"คณะ กรรมการยืนยันเป็นเอกฉันท์ว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ 
ได้สวรรคตโดยลูกกระสุนปืน ซึ่งเข้าไปในพระนลาฏของพระองค์ 
และผ่านทะลุออกไปข้างหลังของพระเศียร และทั้งชี้แจงเป็นเอกฉันท์ว่า 
ตามที่ได้ทดลองกับศพ ปากกระบอกปืนจ่ออยู่ภายในระยะ ๕ เซนติเมตร
 ของพระนลาฏโดยเกือบแน่นอน" 
(คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ วันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๔๙๖
 คดีหมายเลขดำที่ ๓๐๕๖/๒๔๙๔ คดีหมายเลขแดงที่ ๒๖๓๖/๒๔๙๖)
สุดท้ายคณะกรรมการแพทย์แต่ละท่านก็มีความคิดเห็นออกมา
ตามแถลงการณ์ของกรมตำรวจ วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๔๘๙
นายแพทย์นิตย์ เวชวิศิษฐ์ อธิบดีกรมการแพทย์ 
และแพทย์ประจำพระองค์
"ตามความเห็นของข้าพเจ้าเป็นการถูกปลงพระชนม์ ปลงพระชนม์เอง
 ซึ่งอาจเป็นได้เท่ากันทั้งสองประการ ข้าพเจ้าไม่เห็นเป็นอุบัติเหตุเลย"
พ.อ.เย อี. ไดรเบอร์ก (Colonel Driberg) นายแพทย์กองทัพบกอังกฤษ 
ไม่มีความเห็นในแถลงการณ์ฉบับนี้ 
แต่จากคำให้การของนายแพทย์นิตย์ เวชวิศิษฐ์ ต่อศาลอาญา
 วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๒ อ้างว่า พันเอกไดรเบอร์กมีความเห็นว่า
 ถูกลอบปลงพระชนม์ รองลงมาคือปลงพระชนม์เอง แล้วจึงถึงอุบัติเหตุ
พ.ต.ท.เอ็จ ณ ป้อมเพชร กรรมการผู้เชี่ยวชาญการพิสูจน์ ผู้แทนตำรวจ
"ตามความเห็นของข้าพเจ้าบาดแผลนั้นเนื่องมาจากการกระทำ
ด้วยพระองค์เอง หรือเกิดจากการกระทำของบุคคลอื่น"
นายแพทย์คอร์ท (E. C. Cort)
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลแมคคอมิค เชียงใหม่

"...แห่งที่ของบาดแผล และทางของบาดแผลคล้ายถูกปลงพระชนม์
กว่าปลงพระชนม์เอง และอุบัติเหตุนั้น ดูไม่น่าจะเป็นไปได้"
นายแพทย์ใช้ ยูนิพันธ์ อดีตอาจารย์อายุรศาสตร์ ศิริราช
"ตามความเห็นของข้าพเจ้าเป็นการถูกปลงพระชนม์ 
ปลงพระชนม์เอง หรืออุบัติเหตุ ตามลำดับเป็นขั้นๆ ไป"
นายแพทย์ชุบ โชติกเสถียร ศัลยแพทย์ โรงพยาบาลจุฬาฯ
"...ตามความเห็นของข้าพเจ้าเรื่องนี้เป็นกรณีถูกปลงพระชนม์
 และข้าพเจ้าไม่สงสัยว่าเป็นการปลงพระชนม์เอง
หรืออุบัติเหตุโดยสิ้นเชิง"
นายแพทย์สงกรานต์ นิยมเสน พยาธิแพทย์
และผู้ชำนาญวิชานิติเวชศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช

"ตามความเห็นของข้าพเจ้าเป็นการถูกปลงพระชนม์ 
ปลงพระชนม์เอง หรืออุบัติเหตุ ตามลำดับเป็นขั้นๆ ไป"
นายแพทย์เต่อ สนิทวงศ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกลาง
"ตามความเห็นของข้าพเจ้าเป็นการอุบัติเหตุ หรือถูกปลงพระชนม์ 
หรือปลงพระชนม์เอง ตามลำดับเป็นขั้นๆ ไป"
นายแพทย์ฝน แสงสิงแก้ว จิตแพทย์ โรงพยาบาลโรคจิต
"ตามความเห็นของข้าพเจ้าเป็นการอุบัติเหตุ ถูกปลงพระชนม์ 
หรือปลงพระชนม์เอง ตามลำดับเป็นขั้นๆ ไป"
นายแพทย์สุด แงวิเชียร หัวหน้าแผนกกายวิภาคศาสตร์
โรงพยาบาลศิริราช
"ตามความเห็นของข้าพเจ้ามีทางอธิบายที่เป็นไปได้ ๒ ประการเท่านั้น
 คือ ปลงพระชนม์เองหรือถูกปลงพระชนม์ทั้งสองประการเท่าๆ กัน"
นายแพทย์ หม่อมหลวงเกษตร สนิทวงศ์ สูติแพทย์ โรงพยาบาลจุฬาฯ
"ตามความเห็นของข้าพเจ้าเป็นการถูกปลงพระชนม์หรือปลงพระชนม์เอง
ตามลำดับเป็นขั้นๆ ไป และข้าพเจ้าไม่ถือว่าเป็นการอุบัติเหตุเลย"


พ.ต.ต่วน จีรเศรษฐ พยาธิแพทย์ โรงพยาบาลจุฬาฯ

"ตามความเห็นของข้าพเจ้าเป็นการถูกลอบปลงพระชนม์ การปลงพระชนม์เอง หรืออุบัติเหตุ ตามลำดับเป็นขั้นๆ ไป"


นายแพทย์ชูช่วง เศวตรุนทร์ แพทย์ประจำบ้าน โรงพยาบาลจุฬาฯ

"ตามความเห็นของข้าพเจ้าเป็นการถูกปลงพระชนม์ ปลงพระชนม์เอง หรืออุบัติเหตุ ตามลำดับเป็นขั้นๆ ไป"


นายแพทย์สงัด เปล่งวานิช เลขานุการกรมการแพทย์

"ตามความเห็นของข้าพเจ้าเป็นการถูกปลงพระชนม์ ปลงพระชนม์เอง หรืออุบัติเหตุ ตามลำดับเป็นขั้นๆ ไป"


พ.ต.ประจักษ์ ทองประเสริฐ หัวหน้าแผนกศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช

"ตามความเห็นของข้าพเจ้าเป็นการปลงพระชนม์ หรือถูกปลงพระชนม์ ข้าพเจ้าไม่เห็นเป็นอุบัติเหตุ"


นายแพทย์อวย เกตุสิงห์ หัวหน้าแผนกสรีรวิทยา โรงพยาบาลศิริราช

"ตาม ความเห็นของข้าพเจ้า ไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะอนุมานได้โดยสิ้นเชิงว่าจะเป็นประการใดประการหนึ่ง เช่นว่านั้น แต่ข้าพเจ้าเลือกจะถือว่าเป็นการถูกปลงพระชนม์เป็นประการแรก เป็นอุบัติเหตุเป็นประการที่สอง และเป็นการปลงพระชนม์เองเป็นประการที่สาม"


นายแพทย์หลวงพิณพาทย์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล

"ตามความเห็นของข้าพเจ้า การสวรรคตเนื่องมาจากถูกปลงพระชนม์ ปลงพระชนม์เอง หรืออุบัติเหตุ ตามลำดับเป็นขั้นๆ ไป"
นายแพทย์ชูช่วง เศวตรุนทร์ แพทย์ประจำบ้าน โรงพยาบาลจุฬาฯ

"ตามความเห็นของข้าพเจ้าเป็นการถูกปลงพระชนม์ ปลงพระชนม์เอง หรืออุบัติเหตุ ตามลำดับเป็นขั้นๆ ไป"


นายแพทย์สงัด เปล่งวานิช เลขานุการกรมการแพทย์

"ตามความเห็นของข้าพเจ้าเป็นการถูกปลงพระชนม์ ปลงพระชนม์เอง หรืออุบัติเหตุ ตามลำดับเป็นขั้นๆ ไป"


พ.ต.ประจักษ์ ทองประเสริฐ หัวหน้าแผนกศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช

"ตามความเห็นของข้าพเจ้าเป็นการปลงพระชนม์ หรือถูกปลงพระชนม์ ข้าพเจ้าไม่เห็นเป็นอุบัติเหตุ"


นายแพทย์อวย เกตุสิงห์ หัวหน้าแผนกสรีรวิทยา โรงพยาบาลศิริราช

"ตาม ความเห็นของข้าพเจ้า ไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะอนุมานได้โดยสิ้นเชิงว่าจะเป็นประการใดประการหนึ่ง เช่นว่านั้น แต่ข้าพเจ้าเลือกจะถือว่าเป็นการถูกปลงพระชนม์เป็นประการแรก เป็นอุบัติเหตุเป็นประการที่สอง และเป็นการปลงพระชนม์เองเป็นประการที่สาม"


นายแพทย์หลวงพิณพาทย์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล

"ตามความเห็นของข้าพเจ้า การสวรรคตเนื่องมาจากถูกปลงพระชนม์ ปลงพระชนม์เอง หรืออุบัติเหตุ ตามลำดับเป็นขั้นๆ ไป"


พลตรี พระยาดำรงแพทยาคุณ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาฯ

"ตามความเห็นของข้าพเจ้าเป็นการถูกปลงพระชนม์ หรือปลงพระชนม์เอง ตามลำดับเป็นขั้นๆ ไป ข้าพเจ้าไม่ถือเป็นอุบัติเหตุเลย"


ทั้ง หมดนี้เป็นความคิดเห็นของแพทย์ ตามผลการชันสูตร และการทดลอง โดยสรุปก็คือแพทย์ส่วนใหญ่เห็นเป็นการถูกลอบปลงพระชนม์ มากกว่าปลงพระชนม์เอง และอุบัติเหตุ

แต่นั่นไม่ใช่ข้อสรุปของคดี เพื่อให้เห็นภาพรอบด้านมากขึ้นอีก คงต้องฟัง "ฝ่ายค้าน" ในคำแถลงการณ์ปิดคดีของจำเลย ณ ศาลอาญา วันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๔๙๔ คดีหมายเลขดำที่ ๑๘๙๘/๒๔๙๑ คดีหมายเลขแดงที่ /๒๔ ความตอนหนึ่งเกี่ยวกับคณะแพทย์ชุดนี้ว่า


"การ ตรวจเพื่อรู้ว่า สมองส่วนใดจะต้องถูกทำลายไปพร้อมกันนี้ย่อมต้องมีความชำนาญในการตรวจ และมีความชำนาญพอที่จะวินิจฉัยได้ และได้เคยประจักษ์ผลแห่งความแรงของปืน การกระเทือนของปืนที่ผ่านสมองไป มีผลทำให้รอบข้างทำลายไปพร้อมกันเพียงใด ซึ่งในเรื่องความชำนาญดังนี้ เป็นที่น่า เสียดายที่บรรดานายแพทย์ทุกท่านที่เข้ามาเป็นพะยานในเรื่องนี้ ไม่เคยได้กระทำการตรวจสมองใดๆ ที่เคยมีกระสุนปืนผ่านมาก่อนเลย และในรายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนี้ ได้ทำการตรวจเมื่อระยะเวลาล่วงไปนานเสียแล้ว จึงไม่อาจตรวจพิเคราะห์โดยละเอียดได้..."


ทนายจำเลย นายฟัก ณ สงขลา ยังได้ค้านเกี่ยวกับความเห็นเรื่องการถูกปลงพระชนม์ โดยตัดอุบัติเหตุออกไป ตามความเห็นของแพทย์ ดังนี้


"เกี่ยว กับเรื่องฐานที่ตั้งจากบาดแผลตามตำรานิติเวชวิทยา มิได้ยืนยันว่าบาดแผลที่กระทำขึ้นอย่างพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนี้ เป็นบาดแผลที่ถูกปลงพระชนม์เท่านั้น การเฉียงลงของกระสุนปืน เป็นเพียงการเฉียงลงเล็กน้อย มิใช่ว่าจะให้บ่งตรงว่าเป็นเรื่องลอบปลงพระชนม์อย่างเดียวเช่นเดียวกัน ถ้าลองเอาปืนขนาด ๑๑ มม. จรดดูที่หน้าผาก วางปืนตั้งได้ฉากหรือเอนด้ามขึ้นทางศีรษะ เอนด้ามปืนลงมาทางเท้า ไม่มีลักษณะที่ขัดข้องที่จะกระทำด้วยตนเองอย่างใดเลย อนึ่ง เป็นที่รับกันว่ากรณีที่เกิดอุบัติเหตุขึ้นนั้น บางรายเกิดขึ้นได้อย่างพิสดารที่สุด..."

แต่ผลสรุปคดีทาง กฎหมายของศาลยุติธรรมทั้งสามศาล เห็นได้ชัดว่าคณะผู้พิพากษาได้ให้น้ำหนักกับกระบวนการชันสูตร และความเห็นของแพทย์ไว้ค่อนข้างมาก ยกเว้นความเห็นแย้งคำพิพากษาในชั้นอุทธรณ์ ที่มองต่างมุมในกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ว่ากระบวนการทางแพทย์ (กรณีอาการแข็งเกร็ง คาดาเวอริสปันซั่ม) และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (กรณีสนิมในปากกระบอกปืน) ยังไม่สมบูรณ์เด็ดขาดพอที่จะพิสูจน์ให้มีข้อสรุปเป็นอย่างหนึ่งอย่างใดได้ ชัดเจน แต่คำพิพากษาก็ชี้สาเหตุการสวรรคตออกมาสอดคล้องกันทั้ง ๓ ศาล

ศาลอาญา เชื่อว่าเป็นการลอบปลงพระชนม์ จึงมีการตัดสินประหารชีวิตจำเลยที่ ๒ นายชิต สิงหเสนี อยู่ในข่ายรู้เห็นร่วมมือกับผู้กระทำการปลงพระชนม์ แต่ให้ปล่อยนายเฉลียว ปทุมรศ และนายบุศย์ ปัทมศริน

ศาลอุทธรณ์ เชื่อว่าเป็นการลอบปลงพระชนม์เช่นกัน จึงได้ตัดสินประหารชีวิต นายชิต สิงหเสนี และ นายบุศย์ ปัทมศริน ให้ปล่อยนายเฉลียว ปทุมรศ

ใน ชั้นอุทธรณ์นี้มีความเห็นแย้งคำพิพากษา โดยผู้พิพากษา ๑ ใน ๕ ของคณะผู้พิพากษา คือความเห็นแย้งของหลวงปริพนธ์จนพิสุทธิ์ ซึ่งเชื่อว่าเป็นอุบัติเหตุ "หลักฐานยังไม่พอฟังลงโทษจำเลยทั้งสาม"


ศาลฎีกา พิพากษาประหารชีวิตจำเลยทั้งสามคน!


แม้ กระบวนการทางกฎหมายจะได้สิ้นสุดลงแล้ว และไม่อาจแก้ไขสิ่งใดๆ ได้อีก แต่ "สิ่งที่ยังเหลืออยู่" ในกรณีสวรรคต ไม่ใช่แค่เครื่องมือแพทย์ และกะโหลกศีรษะ ที่พิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์ ไม่ใช่แค่สำนวนคดีหลายพันหน้าที่พิพิธภัณฑ์อัยการไทย แต่ยังมี "ความแคลงใจ" ในปริศนาของคดีนี้ ซึ่งจะเหลืออยู่ตลอดกาล

"...ประวัติศาสตร์จะต้องดำเนินต่อไปในอนาคตโดยไม่สิ้นสุด ดังนั้นผมขอฝากไว้แก่ท่าน และชนรุ่นหลังที่ต้องการสัจจะช่วยตอบให้ด้วย..." 
(ปรีดี พนมยงค์, ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๑๖)
 

ข่าวหนังสือพิมพ์เดอะการ์เดี้ยนของอังกฤษ นักศึกษาเผชิญข้อกล่าวหาที่ต้องติดคุก

โดย Kate Hodal
ที่มา THE GUARDIAN
สรุปความ ไทยอีนิวส์

Kate Hodal ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์เดอะการ์เดี้ยนของอังกฤษ

 รายงานจากกรุงเทพฯเมื่อวันที่ 4 มีนาคม
ลงในหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ ที่มีผู้อ่านทั่วทั้งโลกในหัวข้อข่าว
นักศึกษาเผชิญข้อกล่าวหาที่ต้องติดคุกจากการกล่าววิจารณ์สถาบันกษัตริย์ไทย
โดยนำเสนอข่าวกรณีนักศึกษาสาววัย 20 ปีผู้ใช้นามแฝง"ก้านธูป"

อาจต้องติดคุก 15 ปีจากข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
ก้านธูปให้สัมภาษณ์ว่าเธอเพียง"แสดงความคิดเห็น" 

และกรณีของเธอกลายเป็นสัญลักษณ์ขึ้นมา
นี่เป็นสัญญาณการเปลี่ยนแปลงไม่้ช้าก็เร็วต่อการกล่าวในเรื่องที่

เป็น"สิ่งต้องห้าม"ของคนไทย
เธอเริ่มไม่ยืนในโรงหนังในปี 2549 ปีที่มีการทำรัฐประหารหนล่าสุด

ของประเทศนี้ เพราะเชื่อว่า เธอมีสิทธิ์จะยืนหรือไม่ก็ได้
ในสิ่งที่เธอเชื่อหรือไม่เชื่อ ตำรวจเลื่อนหมายเรียกก้านธูปออกไป 
อนาคตที่ไม่แน่นอนนี้ เธอให้สัมภาษณ์เดอะการ์เดี้ยนว่า 
หากถูกตัดสินให้ต้องจำคุก ก็ต้องเผชิญกับมัน
โดยจะไม่้สารภาพต่อข้อกล่าวหาเพื่อขอลดโทษจำคุกลงมา

 และจะไม่ขอพระราชทานอภัยโทษด้วย
"เพราะหากฉันจะผิด ก็เพียงเพราะเสรีภาพทางความคิดเท่านั้น"

เดอะการ์เดี้ยนรายงานว่านี่ไม่ช่กรณีสุดท้ายสำหรับคดี 112

 ศาลไทยเพิ่งตัดสินจำคุกสุรชัย แซ่ด่าน วัย 71 เป็นเวลา 7 ปีครึ่ง
 (อ่านข่าว เดอะการ์เดี้ยน กรณีสุรชัย แซ่ด่าน )
ก่อนหน้านั้นตัดสินจำคุก"อากง"วัย 61 เป็นเวลา 20 ปี และอีกหลายกรณี

ก้านธูปไม่โดดเดี่ยวนัก เพราะมีนักกิจกรรมอดอาหารประท้วงที่หน้าศาลอาญา

ในเวลานี้ รวมทั้งนักวิชาการนิติราษฎร์ แต่นายกฯยิ่งลักษณ์กล่าวว่า
จะไม่ยอมแตะต้องใดๆต่้อกฎหมายฉบับนี้ ขณะที่ผู้นิยมสถาบันกษัตริย์ 
หมอตุลย์ สิทธิสมวงศ์  บอกว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องความมั่นคงของชาติ 
ไม่ใช่เพียงเรื่องสถาบันกษัตริย์
"คนไทยยังโง่อยู่ ไม่มีการศึกษาดีพอ จึงยังไม่ควรให้มีการวิพากษ์วิจารณ์สถาบัน
 และในหลวงก็ทรงยังทำให้บ้านเมืองของเราผาสุกอีกด้วย"{ ha ha ha }
อ่านรายละเอียดข่าวภาษาอังกฤษ
Student faces prison for speaking out in royalist Thailand

The fate of Kanthoop, 20, who faces up to 15 years in jail for 'having opinions',
highlights country's harsh pro-monarchy laws

All Thais are expected to stand twice a day to pay homage to their nation, 

ruled over by King Bhumibol and Queen Sirikit. Photograph: Sakchai Lalit/AP
Kate Hodal in Bangkok
The Guardian, Sun 4 Mar 2012 19.05 GMT

She is the very embodiment of modern Thai youth, dressed in flip-flops, 

T-shirt and shorts, and sipping an iced coffee with friends after university lectures.
But 20-year-old Kanthoop is not just another university student.
The social welfare major has been spat at, publicly denigrated, 

threatened by police and faces up to 15 years in jail – for little more, she says, 
than "having opinions".
"I know my case is symbolic, and I'm happy about that.
There is good that comes from somebody standing up and wanting 

to make change – sooner or later people will start to realise that."
To understand why Kanthoop might be so vilified is

 to understand Thai society.
Twice a day – at 8am and 6pm – time stands still 

in this nation of 69 million as the national anthem sputters out of public loudspeakers and everyone is expected to stand in silent salute.
The routine testifies to the adoration Thai people feel 

for both their nation and their king,
Bhumibol Adulyadej, or Rama IX, a man so revered 

that many shops and homes bear his portrait.
But that reverence is backed up by the world's strictest 

anti-monarchy regulations, which sentence anyone who insults, 
defames or threatens the king or his family to three to 15 years' imprisonment.
Opponents argue that the law, known as Article 112,
prevents healthy dialogue and is being used as a political tool to stifle dissent. Charges of lese-majesty,
though in existence since 1908, have jumped since the military coup in 2006 that ousted former PM Thaksin Shinawatra,
who was widely criticised for attempting to undermine the monarchy,
an accusation he has long denied.
In 2010 – when royalist forces bloodily battled with Thaksin supporters – 478 lese-majesty charges were made and 75,000 websites blocked.
Human rights groups, as well as the US, EU and UN, have voiced concern over the way the law is used.

A group of Thai academics and activists, called Nitirat, have since proposed amendments to the law,
but current prime minister, Yingluck Shinawatra, Thaksin's sister,
has vowed not to touch 112 — promising in January to "protect the [royal] institution, not exploit it".
The debate has consequently been left to rage in the streets,
where Nitirat's members face threats and harassment by royalists.

"This is about national security, not just about the king," said royalist Dr Tul Sittisomwong. "Thai people are not that well educated … We're not that open to layers of discussion without fear of violence [regarding this subject]. The king makes peace in our society."

But the existing "hyper-royalism"
in Thailand has spiralled out of control and may actually be working to the detriment of the nation,
said Thongchai Winichakul, a professor of south-east Asian history at the University of Wisconsin-Madison who spent two years in prison after participating in a 1976 pro-democracy protest that saw over 100 demonstrators killed.

"Just look at the hyperbole [used] to describe the monarchy,
the religiosity with which Thai people love the monarch and the public participation of all this royalism,
" he says. "People are now afraid of their colleagues" — because anyone can bring forward a charge of lese-majeste,
he adds.

It's an issue that Kanthoop knows well.
Police began investigating her case in 2010 after she posted Facebook messages that were later cut and pasted by others, who she says distorted what she wrote and forwarded it by email to authorities.
Her court date, originally scheduled for 11 February,
has now been postponed to an unspecified date while police gather more evidence.

If charged, she may well be 112's youngest offender,
but she will probably not be the last.
Last week a Thai court sentenced a 71-year-old redshirt supporter to 7½ years in prison,
while last year a 61-year-old was jailed for 20 years for sending defamatory text messages,
and a Thai-US citizen was jailed for 2½ years for translating a banned biography of the king.

Kanthoop's political journey began in 2006,
when she refused to stand up in the cinema for the national anthem that plays before every film.
"That was the moment for me," she says. "
I decided that I have the right to stand up or not, to pay respect to whatever I believe in."
While her highly politicised views have not won her many friends at Bangkok's Thammasat University,
the only university to accept her even though she passed the entrance exams for two others,
Kanthoop is not alone in her fight.
A group of activists recently went on hunger strike outside the capital's criminal court to demand that those detained on charges of lese-majesty be granted bail.
"This law needs to be reviewed," says 20-year-old Panitan Pruksakasemsuk,
whose father Somyot is one of those detained. "Society needs to be open to change and willing to adapt to that change."

As for Kanthoop, while the future is uncertain,
her approach to it is not. "If I have to go to jail, I will,"
she says calmly. "Even if it's for life.
But I won't plead guilty to reduce my sentence, and I won't ask for the king's pardon. I am guilty only of freedom of thought."
Posted by Independent Correspondent at 3/05/2012 03:46:00 หลังเที่ยง Share on Facebook

*******************************************************************
อย่างนี้ต้องเรียกว่า"Hearรังแกเด็ก"

หนานเมือง สล่าง่าวบ้านนอ
 

ช็อตเด็ดวันนี้:นั่งรถเข็นบ้างไรบ้าง

นั่งรถเข็นบ้างไรบ้าง นี่ถ้ามีหมามาเข้าฉากเป็นพร็อพสักตัวจะแจ่มมาก 
(ที่มา:facebook Chaithawat Tulathon )
แขวนไว้ฝาบ้านดีกว่า (เวอร์ชั่น ประชาทอล์ก)