Freigegeben Surachai sofort und ohne Bedingungen.

The law is silent @ the time of war.Liberate Thailand to Frees.‎Our real enemy is monarchy system.

The Great King Thaksin.

มหาราช..ก็คือมหาราช...จะเป็นอย่างอื่นมิได้
ใครเป็นผู้วางแผนยึดและใครเป็นผู้ยึดกรุงธนบุรี? ฯลฯ
Website counter
เรารักพระเจ้าตากสินมหาราช ผู้กู้ชาติไทย
Taksin The Great King of Thailand /
 / 达信大帝 กษัตริย์ผู้อาภัพ 
สมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราช {ที่แท้จริง}
ทวงความเป็นธรรม  ให้  ระลึกถึง พระเจ้ากรุงธนบุรี 
พระมหากษัตริย์ ผู้ยิ่งใหญ่ แต่ อาภัพ
แม้ทหารที่จงรักภักดีกับพระเจ้าตากสิน จะพร้อมพลีชีพเพื่อพระองค์ 
แต่ก็มีพระราชดำรัสว่า “สิ้นบุญพ่อแล้ว อย่าให้ยากแก่ไพร่เลย”
230 ปี..ที่ผ่านมา...ทั้งๆมีการบันทึกด้วยตัวอักษรอย่างชัดเจน..
แต่ข้อมูลที่นำเสนอกับไม่มีความชัดเจน...ทั้งที่เป็นบุคคลที่
สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์....ในหลายๆเรื่องที่ไม่ให้เกียรติ
แก่พระองค์ท่าน....บิดเบื่อนแม้กระทั้งวันสวรรคต...............
ทรงสวรรคต..เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2325.....ชัดเจน............
ยังถูกบิดเบื่อนเป็น วันที่ 10 เมษายน 2325...ในวิกิพีเดีย...
ส่วนกรณีย์สวรรคต...ยังมีตั้งหลายเวอร์ชั่น....แต่ท่านเชื่อไหมว่า
ในวันหนึ่งข้างหน้า...ทุกอย่างจะชัดเจน...และจะได้เห็นอนุสาวรีย์ของท่าน...
จะัยิ่งใหญ่ที่สุดเหนือสิ่งอื่นใดๆ..ทั้งปวง....
คลิปครบรอบ 230 ปี ของพระองค์ท่าน

ประวัติศาสตร์จากการแสดงแสงสีเสียง...

แม้ว่ารัชสมัยของพระองค์ จะมีระยะเวลาอันสั้นเพียง ๑๕ ปี แต่ก็นับว่ามีความหมาย
 และมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ต่อการดำรงคงอยู่ของชาติไทยเรา
 ด้วยเป็นยุคสมัยแห่งการตั้งต้นชีวิตใหม่ วางรากฐานบ้านเมืองกันใหม่
พระราชประวัติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระราชสมภพ เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 5 ขึ้น 15 ค่ำ 
ปีขาล ฉศก จุลศักราช 1096 ตรงกับวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2277 
ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศพระมหากษัตริย์ แห่งกรุงศรีอยุธยา
มีพระนามเดิมว่า สิน พระราชบิดา เป็นชาวจีนชื่อนายไหฮอง หรือ หยง แซ่แต้
 เป็นนายอากรบ่อนเบี้ย มีบรรดาศักดิ์เป็นขุนพัฒน์ พระราชชนนีชื่อนางนกเอี้ยง
(ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็น กรมพระเทพามาตย์) 
ตั้งบ้านเรือนอยู่ ใกล้กับจวนเจ้าพระยาจักรีที่สมุหนายก
เมื่อยังทรงพระเยาว์เจ้าพระยาจักรีได้ขอ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ไปเลี้ยงเป็น บุตรบุญธรรม และได้ตั้งชื่อพระองค์ท่านว่า สิน พอนายสินอายุได้ 9 ขวบ 
เจ้าพระยาจักรีก็นำไปฝาก ให้เล่าเรียนหนังสืออยู่ในสำนักของพระอาจารย์ทองดี
วัดโกษาวาส ครั้นอายุได้ 13 ปี เจ้าพระยาจักรี ได้นำนายสินเข้าถวายตัวรับราชการ
เป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวบรมโกศ ตามประเพณีของการรับราชการในสมัยนั้น


ในระหว่างรับราชการเป็นมหาดเล็กนายสินได้พยายามศึกษาหาความรู้
ทางด้านภาษาต่าง ประเทศหลายภาษา มีภาษาจีน ภาษาญวน และภาษาแขก 
จนสามารถพูดได้สามภาษาอย่างชำนิชำนาญครั้นนายสินอายุได้ 21 ปี
 เจ้าพระยาจักรี ได้ประกอบการอุปสมบทนายสินเป็นพระภิกษุสงฆ์
 อยู่ในสำนัก อาจารย์ทองดี ณ วัดโกษาวาส ( ปัจจุบันคือวัดเชิงท่า )
นายสินอุปสมบทอยู่ 3 พรรษา แล้วก็ลาสิกขาบท กลับมาเข้ารับราชการตามเดิม
เนื่องจากนายสินเป็นผู้ฉลาด รอบรู้ขนบธรรมเนียมราชกิจต่าง ๆ โดยมาก 
จึงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้นายสินเป็นมหาดเล็กรายงาน
 ด้วยราชการทั้งหลาย ในกรมมหาดไทย และกรมวังศาลหลวง

พ.ศ. 2301 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จสวรรคต 
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอุทุมพรเสด็จเสวยราชสมบัติ ได้ 3 เดือนเศษ 
ก็ถวายสิริราชสมบัติแก่ สมเด็จพระบรมราชาที่ 3 และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ 
ให้นายสินมหาดเล็กรายงานเป็นข้าหลวงเชิญท้องตราพระราชสีห์
ขึ้นไปชำระความหัว เมืองฝ่ายเหนือ ซึ่งนายสินได้ปฏิบัติราชการด้วยความวิริยะอุตสาหะ
 และมีความดีความชอบมาก จึงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ 
ให้เป็นหลวงยกกระบัตรเมืองตาก ช่วยราชการ อยู่กับพระยาตาก 
ครั้นเมื่อพระยาตากถึงแก่กรรมลงก็ทรงโปรดเกล้า ฯ 
ให้เลื่อนหลวงยกกระบัตร (สิน) เป็นพระยาตาก ปกครองเมืองตากแทน
พ.ศ. 2310 กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ในเดือนเมษายน พระยาตาก
ก็สามารถกอบกู้ กรุงศรีอยุธยากลับคืนได้ แล้วก็คิดจะปฏิสังขรณ์ 
กรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นราชธานีใหม่ 
แต่เมื่อได้ตรวจความเสียหายแล้วเห็นว่า กรุงศรีอยุธยาได้รับความเสียหายเป็น อันมาก
ยากที่จะบูรณะให้เหมือนดังเดิมได้  และประกอบกับรี้พลของเจ้าตากมีไม่พอ
ที่จะรักษากรุงศรีอยุธยาที่เป็นเมือง ใหญ่ได้ จึงเลือกเมืองธนบุรีเป็นราชธานี
และได้อพยพผู้คนลงมาตั้งมั่นที่เมืองธนบุรี

ประวัติศาสตร์...อาจซ้ำได้ ....
เมืองไทยนี้...คนอัปรีย์มันมีมาก >>>ยากจะขืน .....
ต้องทิ้งเก่า...เอาเมืองใหม่.....ให้ยั่งยืน.....
>>>อย่าได้ฝืน>>> ทนอยู่ได้.....ใต้ฝ่าตีน 
>>>ไอ้เหี้ย สั่งฆ่า
>>> By Khun บ้วนเล้ง@นปชUSA.
เจ้า ตากทรงทำพิธีปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ครองกรุงธนบุรี เมื่อวันพุธ เดือนอ้าย 
แรม 4 ค่ำ จุลศักราช 1130 ปีชวด สัมฤทธิศก ตรงกับวันที่ 28 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2311 
ขณะมีพระชนมายุได้ 34 พรรษา ทรงนามว่า สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ 
หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 แต่ประชาชนทั่วไป ยังนิยมขนานพระนามพระองค์ว่า
 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดา
กับสมเด็จพระอัครมเหษี กรมหลวงบาทบริจา และกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์
รวมทั้งพระสนมต่าง ๆ รวมทั้งสิน 29 พระองค์
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เสด็จสวรรคต เมื่อวันเสาร์ เดือน 5 แรม 9 ค่ำ
จ.ศ. 1144 ปีขาล ตรงกับวันที่ 6 เมษายน 2325 พระชนมายุ 48 พรรษา
 รวมสิริราชสมบัติ 15 ปี

พระราชกรณียกิจ
ด้านการปกครอง 
ยังคงใช้ระบบการปกครองแบบกรุงศรีอยุธยา ส่วนด้านกฎหมาย เมื่อครั้งกรุงแตก 
กฎหมายบ้านเมืองกระจัดกระจายหายสูญไปมาก จึงโปรดให้ทำการสืบเสาะค้นหามารวบรวมไว้ได้ประมาณ 1 ใน 10 และโปรดให้ชำระกฎหมายเหล่านั้น ฉบับใดยังเหมาะแก่กาลสมัยก็โปรดให้คงไว้ 
และเป็นการแก้ไขเพื่อให้ราษฎรได้รับผลประโยชน์มากขึ้น เช่น โปรดให้แก้ไขกฎหมายว่าด้วยการพนัน ให้อำนาจการตัดสินลงโทษขึ้นแก่ศาลแทนนายตราสิทธิขาด และยังห้ามนายตรา นายบ่อนออกเงินทดรองให้ผู้เล่น เกาะกุม ผูกมัด จำจอง เร่งรัดผู้เล่น กฎหมายพิกัดภาษีอากรเกือบไม่มี 
เพราะผลประโยชน์แผ่นดินได้จากการค้าสำเภามากพอแล้ว กฎหมายว่าด้วยการจุกช่องล้อมวง 
ก็ยังไม่ตราขึ้น เปิดโอกาสให้ราษฎรได้เฝ้าตามรายทาง โดยไม่ต้องมีพนักงานตำรวจแม่นปืน
คอยยิงราษฎร ซึ่งแม้แต่ชาวต่างประเทศก็ยังชื่นชมในพระราชอัธยาศัยนี้
ใน ชั้นศาล ก็ไม่โปรดให้อรรถคดีคั่งค้าง แม้ยามศึก หากคู่ความไม่ได้เข้ากองทัพ
หรือประจำราชการต่างเมือง ก็โปรดให้ดำเนินการพิจารณาคดีไปตามปกติ ทั้งในการฟ้องร้อง 
ยังโปรดให้โจทย์หาหมอความแต่งฟ้องได้เช่นเดียวกับปัจจุบันอีกด้วย 
วิธีพิจารณาคดีในสมัยนั้นสะท้อนให้เห็นได้แจ่มชัด ในบทละครรามเกียรติ์
ตอนท้าวมาลีวราชพิพากษาความ พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี
ด้านการทหาร ทรงรวบรวมคนไทยที่แบ่งเป็นก๊กเป็นเหล่า 5 ก๊ก และปราบปรามก๊กต่าง ๆ 
ทำสงครามกับพม่า ขยายพระราชอาณาเขตไปยังหลวงพระบาง เวียงจันทน์ และกัมพูชา
                                   ด้านเศรษฐกิจ
เนื่องในสมัยกรุงธนบุรี เป็นระยะเวลาที่สร้างบ้านเมืองกันใหม่ การค้าเจริญรุ่งเรือง ทั้งของหลวง
และของราษฎร สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงทำนุบำรุงการค้าขายทางเรืออย่างเต็มที่ 
ทรงแต่งสำเภาหลวงออกไปค้าขายทางด้านตะวันออกไปถึงเมืองจีน ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือ
ถึงอินเดียตอนใต้ ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการค้าของหลวง ช่วยบรรเทาภาระภาษีของราษฎรไปได้มาก
สมเด็จ พระเจ้าตากสิน ฯ ทรงส่งเสริมการนำสินค้าพื้นเมืองไปขายทางเรือ ซึ่งอำนวยผลประโยชน์
อย่างใหญ่หลวงต่องานสร้างชาติ ทำให้ราษฎรมีงานทำ มีรายได้ ทั้งยังฝึกให้คนไทยเชี่ยวชาญ
การค้าขาย ป้องกันมิให้การค้าตกไปอยู่ในมือต่างชาติ
                          ด้านการคมนาคม 
ใน ยามว่างจากศึกสงคราม จะโปรดให้ตัดถนนและขุดคลองมากขึ้น เพื่อประโยชน์ในทางค้าขาย
ทรงยกเลิกความคิดแนวเก่าที่ว่าหากถนนหนทาง การคมนาคมมีมากแล้ว จะเป็นการอำนวยความสะดวกให้ข้าศึกศัตรู และพวกก่อการจลาจล แต่กลับทรงเห็นประโยชน์ในทางค้าขายมากกว่า
 ดังนั้นในฤดูหนาวหากว่างจากศึกสงคราม ก็จะโปรดให้ตัดถนน และขุดคลอง จะเห็นได้
จากแนวถนนเก่า ๆ ในเขตธนบุรี ซึ่งมีอยู่มากสาย ส่วนการขุดชำระคลองมักมีวัตถุประสงค์เบื้องต้น
เพื่อประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ เช่น คลองท่าขามจากนครศรีธรรมราชไปออกทะเล เป็นต้น
ด้านศิลปกรรม 
ใน สมัยนี้ แม้สมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรีจะมีการงานศึกสงครามแทบจะมิได้ว่างเว้นก็ตาม
 แต่ก็ทรงหาโอกาสฟื้นฟู และบำรุงศิลปกรรมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทางด้านนาฏดุริยางค์ 
และวรรณกรรม ด้านนาฏดุริยางค์โปรดให้ฟื้นฟูอย่างเต็มที่ เพื่อสร้างบรรยากาศที่รื่นเริงครึกครื้น
เหมือนครั้งกรุงเก่านับเป็นวิธี บำรุงขวัญที่ใกล้ตัวราษฎรที่สุด พระราชทานโอกาสให้ประชาชนทั่วไป 
เปิดการสอนและออกโรงเล่นได้โดยอิสระ เครื่องแต่งกายไม่ว่าจะเป็นเครื่องต้นเครื่องทรงก็แต่งกันได้ตามลักษณะ เรื่อง แม้สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเองก็คงจะทรงสนพระทัยในกิจการด้านนี้มิใช่น้อย
 ด้วยมักจะโปรดให้มีละครและการละเล่นอย่างมโหฬารในงานสมโภชอยู่เนือง ๆ
    สมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี ทรงพระราชนิพนธ์บทละครรามเกียรติ์ไว้ 4 เล่ม
สมุดไทยแบ่งเป็นตอนไว้ 4 ตอน คือ
เล่ม 1 ตอนพระมงกุฎ
เล่ม 2 ตอนหนุมานเกี้ยววานรินจนท้าวมาลีวราชมา
เล่ม 3 ตอนท้าวมาลีวราชพิพากษา จนทศกรรฐ์เข้าเมือง
 เล่ม 4 ตอนทศกรรฐ์ตั้งพิธีทรายกรด, พระลักษณ์ต้องหอกกบิลพัสตร์ 
จนผูกผมทศกรรฐ์กับนางมณโฑ
การที่พระมหากษัตริย์ทรงใฝ่พระทัยในกวีนิพนธ์ถึงกับพระราชนิพนธ์ทั้ง ๆ ที่แทบจะมิได้ว่างเว้น
จากราชการทัพเช่นนี้ เท่ากับเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้ที่มีความสามารถทางกวีนิพนธ์ในยุคนั้นสร้าง
สรรค์งานขึ้นมาได้บ้าง แม้เหตุการณ์ของบ้านเมืองจะยังมิได้คืนสู่สภาพปกติสุขดีนัก 
และสมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี ก็ทรงให้ความอุปถัมภ์กวีในราชสำนักเป็นอย่างดี
ด้านการช่าง 
โปรดให้รวบรวมช่างฝีมือ และให้ฝึกงานช่างทุกแผนกเท่าที่มีครูสอน เช่น ช่างต่อเรือ ช่างก่อสร้าง
 ช่างรัก ช่างประดับ ช่างเขียน เป็นต้น สำหรับงานช่างต่อเรือได้รับความนิยมมากที่สุด
 เพราะเป็นยุคที่มีการต่อเรือรบ และเรือสำเภาค้าขายเป็นจำนวนมากมาย ช่างสมัยกรุงธนบุรีนี้
อาจจะไม่มีเวลาทันสร้างผลงานดีเด่นเฉพาะสมัย แต่ก็ได้เป็นผู้สืบทอดศิลปกรรมแบบอยุธยา
ไปสู่แบบรัตนโกสินทร์ด้านการศึกษา ในสมัยนั้นวัดเป็นแหล่งที่ให้การศึกษา 
จึงโปรดให้บำรุงการศึกษาตามวัดต่างๆ และโปรดให้ตั้งหอหนังสือหลวงขึ้นเช่นเดียวกัน
กับสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งคงจะเทียบได้กับหอพระสมุดในระยะหลัง ส่วนตำรับตำรา
ที่กระจัดกระจายไปเมื่อคราวกรุงแตก ก็โปรดให้สืบเสาะหามาจำลองไว้เป็นแบบฉบับ 
สำหรับผู้สนใจอาศัยคัดลอกกันต่อ ๆ ไป และที่แต่งใหม่ก็มี
ด้านการศาสนา 
โปรด ให้ปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่าง ๆ ที่รกร้างปรักหักพังตั้งแต่ครั้งพม่าเข้าเผาผลาญทำลาย
และกวาดต้อนทรัพย์สิน ไปพม่า แล้วโปรดให้อาราธนาพระภิกษุสงฆ์เข้าจำวัดต่าง ๆ 
ส่วนพระไตรปิฎกยังเหลือตกค้างอยู่ที่ใด ก็โปรดให้คัดลอกสร้างเป็นฉบับหลวง 
แล้วส่งคืนกลับไปที่เดิมเรื่องสังฆมณฑล โปรดให้ดำเนินตามธรรมเนียมการปกครองคณะสงฆ์
ที่มีมาแต่ก่อน โดยแยกเป็นฝ่ายคันถธุระและฝ่ายวิปัสสนาธุระฝ่ายคันถธุระ
ดำเนินการศึกษาพระปริยัติธรรมให้เจริญ ส่งเสริมการสอนภาษาบาลี 
เพื่อช่วยการอ่านพระไตรปิฎก ฝ่ายวิปัสนาธุระ โปรดให้กวดขันการปฏิบัติพระธรรมวินัย
เป็นขั้น ๆ ไปตามภูมิปฏิบัติ ส่วน ลัทธิอื่น ๆ ในชั้นต้นสมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี
 พระราชทานเสรีภาพในการนับถือศาสนา แต่ต่อมาข้าหลวงที่เข้ารีตได้พยายาม
ห้ามปรามชาวไทยปฏิบัติพิธีการทางศาสนา เช่น พิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา 
ความขัดแย้งมีมากขึ้นเรื่อย ถึงกับจับพวกบาทหลวงกุมขังก็มี
 ในที่สุดพระองค์ จำต้องขอให้บาทหลวงไปจากพระราชอาณาเขต
 แล้วห้ามชาวไทยนับถือศาสนาคริสต์ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2322
ด้านการศึกสงคราม
 ขณะ ที่พระยาตากได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นพระยาวชิรปราการ (สิน)
สำเร็จราชการเมืองกำแพงเพชรแทนเจ้าเมืองเดิมที่ถึงแก่กรรม แต่ก็ยังมิได้
ไปครองเมืองกำแพงเพชร เพราะต้องต่อสู้กับข้าศึกในการป้องกันพระนคร
เมื่อพระยาวชิรปราการ (สิน) เล็งเห็นว่าถึงแม้จะอยู่ช่วยรักษาพระนครต่อไป 
ก็คงไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด พม่าก็ตั้งล้อมพระนครกระชั้นเข้ามาทุกขณะ
จนถึงคูพระนครแล้ว กรุงศรีอยุธยาคงไม่พ้นเงื้อมมือพม่าเป็นแน่แท้ 
ไพร่ฟ้าข้าทหารในพระนครก็อิดโรยลงมาก เนื่องจากขัดสนเสบียงอาหาร
 ทหารไม่มีกำลังใจจะสู้รบดังนั้นพระยาวชิรปราการ (สิน) จึงตัดสินใจ
ร่วมกับพระยาพิชัยอาสา พระเชียงเงิน หลวงพรหมเสนา หลวงราชเสน่หา ขุนอภัยภักดี
 และพรรคพวก รวม 500 คน ยกกำลังออกจากค่ายวัดพิชัย ตีฝ่าพม่าไปทางทิศตะวันออก
 เวลาค่ำในวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 4 ค่ำ ปีจอ พ.ศ. 2309 ตรงกับวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2309
ทัพ พม่าได้ส่งทหารไล่ติดตามพระยาวชิรปราการ (สิน) และพรรคพวกมาทันกันในวันรุ่งขึ้น
ที่ บ้านโพธิ์สังหาร พระยาวชิรปราการ (สิน) ได้นำพลทหารไทยจีนเข้ารบกับทหารพม่า
เป็นสามารถจนทหารพม่าแตกพ่ายไป และยังได้ยึดเครื่องศาสตราวุธอีกเป็นจำนวนมาก
 แล้วออกเดินทางไปตั้งพักที่บ้านพรานนก เพื่อหาเสบียงอาหาร 
ระหว่างที่ทหารพระยาวชิรปราการ (สิน) หาเสบียงอาหารอยู่นั้น
 ได้พบทัพพม่าจำนวนพลขี่ม้าประมาณ 30 ม้า พลเดินเท้าประมาณ 2,000 คน
 ยกทัพมาจากบางคาง แขวงเมืองปราจีนบุรี เพื่อเข้ารวมพลเข้าตีกรุงศรีอยุธยาในโอกาสต่อไป
ทหารพระยาวชิรปราการ (สิน) จึงหนีกลับมาที่บ้านพรานนก โดยมีทหารพม่า
ไล่ติดตามมาอย่างกระชั้นชิดและชะล่าใจ พระยาวชิรปราการ (สิน) จึงให้ทหาร
ซึ่งเป็นพลเดินเท้าแยกออกเป็นปีกกา เข้าตีโอบพวกพม่าทั้งสองข้าง
 ส่วนพระยาวชิรปราการ (สิน) กับทหารอีก 4 คน ก็ขี่ม้าตรงเข้าไล่ฟันทหารม้าพม่า
ซึ่งนำทัพมาอย่างไม่ทันรู้ตัวก็แตกร่นไป ถึงพลเดินเท้า พวกทหารพระยาวชิรปราการได้ที
เข้ารุกไล่ฆ่าฟันทหารพม่าจนแตกพ่ายไป การชนะในครั้งนี้ช่วยสร้างขวัญและกำลังใจ
ให้ทหารพระยาวชิรปราการ (สิน) เป็นอย่างมากในโอกาสสู้รบกับพม่าในโอกาสต่อไป
พวกราษฏรที่หลบซ่อนเร้นพม่าอยู่ได้ทราบกิตติศัพท์การรบชนะของพระยาวชิรปราการ (สิน)
ต่อทหารพม่าต่างก็มาขอเข้าเป็นพวก และได้เป็นกำลังสำคัญในการเกลี้ยกล่อม
ผู้ที่ตั้งตัวเป็นหัวหน้า นายซ่องต่าง ๆ มาอ่อนน้อมขุนชำนาญไพรสนฑ์ และนายกองช้าง
เมืองนครนายก มีจิตสวามิภักดิ์ได้นำเสบียงอาหารและช้างม้า มาให้เป็นกำลังเพิ่มขึ้น
 ส่วนนายซ่องใหญ่ซึ่งมีค่ายคูยังทะนงตนไม่ยอมอ่อนน้อม พระยาวชิรปราการ (สิน) 
ก็คุมทหารไปปราบจนได้ชัยชนะแล้ว จึงยกทัพผ่านเมืองนครนายกข้ามลำน้ำ
เมือง ปราจีนบุรีไปตั้งพักที่ชายดงศรีมหาโพธิ์ข้างฟากตะวันตกทหารพม่าเมื่อแตกพ่าย
ไปจากบ้านพรานนกแล้วก็กลับไปรายงานนายทัพ ที่ตั้งค่าย ณ ปากน้ำเจ้าโล้ เมืองฉะเชิงเทรา
 ซึ่งกองทัพพม่ากองสุดท้ายที่รวบรวมกำลังกัน ทั้งทัพบกทัพเรือไปรอดัก พระยาวชิรปราการ (สิน)
 อยู่ ณ ที่นั้น และตามทัพพระยาวชิรปราการ (สิน) ทันกันที่ชายทุ่ง
พระยาวชิรปราการ (สิน) เห็นว่าจะต่อสู้กับข้าศึก ซึ่ง ๆ หน้าไม่ได้ อีกทั้งมีกำลังน้อยกว่า
ยากที่จะเอาชัยชนะแก่พม่าได้ จึงเลือกเอาชัยภูมิพงแขมเป็นกำบังแทนแนวค่าย 
และแอบตั้งปืนใหญ่น้อยรายไว้หมายเฉพาะทางที่จะล่อพม่าเดินเข้ามา 
แล้วพระยาวชิรปราการ (สิน) ก็นำทหารประมาณ 100 คนเศษ คอยรบพม่าที่ท้องทุ่ง
ครั้นเมื่อรบกันสักพักหนึ่งก็แกล้งทำเป็นถอยหนีไปทางช่องพงแขมที่ตั้งปืนใหญ่เตรียมไว้ 
ทหารพม่าหลงกลอุบายรุกไล่ตามเข้าไปก็ถูกทหารไทยระดมยิงและตีกระหนาบเข้ามา 
ทางด้านหน้า ขวา และซ้าย จนทหารพม่าไม่มีทางจะต่อสู้ได้ต่อไป
ทำให้ทหารพม่าล้มตายเป็นจำนวนมาก ที่รอดตายต่างถอยหนีอย่างไม่เป็นกระบวน
ก็ถูกพระยาวชิรปราการ (สิน) นำทหารไล่ติดตามฆ่าฟันล้มตายอีก 
นับตั้งแต่นั้นมาทหารพม่าก็ไม่กล้า จะติดตามพระยาวชิรปราการ (สิน) อีกต่อไป
เมื่อพระยาวชิรปราการ (สิน) ได้ชัยชนะพม่าแล้วได้ยกทัพผ่านบ้านทองหลาง
 พานทอง บางปลาสร้อย บ้านนาเกลือ เขตเมืองชลบุรี ต่างก็มีผู้คนเข้าร่วมสมทบ
มากขึ้นจนมีรี้พลเป็นกองทัพ จากนั้นพระยาวชิรปราการ (สิน) ก็เดินทางไปเมืองระยอง 
โดยหมายจะเอาเมืองระยองเป็นที่ตั้งมั่นต่อไป 
ครั้นถึงเมืองระยอง พระยาระยองชื่อบุญ เห็นกำลังพลของพระยาวชิรปรากา
มีจำนวนมากมายที่จะต้านทานได้จึงพากันออกมา ต้อนรับ พระยาวชิรปราการ (สิน)
 จึงตั้งค่ายที่ชานเมืองระยอง ขณะนั้นมีพวกกรมการเมืองระยองหลายคนแข็งข้อคิดจะสู้รบ 
จึงได้ยกกำลังเข้าปล้นค่ายในคืนวันที่สองที่หยุดพัก แต่พระยาวชิรปราการ (สิน) รู้ตัวก่อน
จึงได้ดับไฟในค่ายเสียและมิให้โห่ร้องหรือยิงปืนตอบ รอจนพวกกรมการเมือง
เข้ามาได้ระยะทางปืน พระยาวชิรปราการ (สิน) ก็สั่งยิงปืนไปยังพวกที่จะแหกค่ายด้านวัดเนิน 
พวกที่ตามหลังมาต่างก็ตกใจและถอยหนี พระยาวชิรปราการ (สิน) คุมทหารติดตาม
ไปเผาค่าย และยึดเมืองระยองได้ในคืนนั้น
การที่พระยาวชิรปราการ (สิน) เข้าตีเมืองระยองได้และกรุงศรีอยุธยา ยังมิได้เสียที
แก่พม่าแต่ประการใด จึงถือเสมือนเป็นผู้ละเมิดกฎหมายบ้านเมือง ดังนั้น พระยาวชิรปราการ (สิน) 
ก็ระวังตน มิได้คิดตั้งตัวเป็นกบฏ และให้เรียกคำสั่งว่า พระประศาสน์อย่างเจ้าเมืองเอก 
พวกบริวารจึงเรียกว่า เจ้าตาก ตั้งแต่นั้นมา
เมื่อเจ้าตากตั้งตัวเป็นอิสระที่เมืองระยอง ส่วนเมืองอื่น ๆ ทางหัวเมืองชายทะเลตะวันออก
นับตั้งแต่เมืองบางละมุง เมืองชลบุรี เมืองจันทบุรี เมืองตราด ต่างก็ยังเป็นอิสระ
 เจ้าตากจึงมีความคิดที่จะรวบรวมเมืองต่าง ๆ เหล่านี้ไว้เป็นพวกเดียวกัน
เพื่อช่วยกันปราบปรามพม่าที่ล้อมกรุงศรีอยุธยา และเล็งเห็นว่าเมืองจันทบุรีเป็นเมืองใหญ่
กว่าหัวเมืองอื่น มีเจ้าปกครองอยู่เป็นปกติมีกำลังคนและอาหารบริบูรณ์
 ชัยภูมิก็เหมาะที่จะใช้เป็นที่ตั้งมั่นยิ่งกว่าหัวเมืองใกล้เคียงทั้งหลาย 
จึงแต่งทูตให้ถือศุภอักษรไปชักชวนพระยาจันทบุรีช่วยกันปราบปรามข้าศึก 
ในครั้งแรกได้ตอบรับทูตโดยดีและรับว่าจะมาปรึกษาหารือกับเจ้าตาก
เกรงจะถูก ชิงเมืองจึงไม่ยอมไปพบครั้นถึงเดือน 5 ปีกุน พ.ศ. 2310 
ข่าวกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310
แล้ว ก็มีคนไทยที่มีสมัครพรรคพวกมากต่างก็ตั้งตัวเป็นใหญ่พระยาจันทบุรียังไม่ยอม
 เป็นไมตรีกับเจ้าตาก ส่วนขุนรามหมื่นซ่อง กรมการเมืองระยองผู้หนึ่งที่เคยปล้นค่ายเจ้าตาก
ก็ไปซ่องสุมผู้คนอยู่ที่ เมืองแกลง ซึ่งขณะนั้นขึ้นกับเมืองจันทบุรีและคอยปล้น
ชิงช้างม้าพาหนะของเจ้าตาก เจ้าตากจึงยกกำลังไปปราบ ขุนรามหมื่นซ่องสู้ไม่ได้
หนีไปอยู่กับพระยาจันทบุรี ครั้นเจ้าตากจะยกพลติดตามไปก็พอดีได้ข่าวว่า
ทางเมืองชลบุรี นายทองอยู่นกเล็กตั้งตัวเป็นใหญ่ ผู้ใดจะเข้ากับเจ้าตาก 
นายทองอยู่นกเล็กก็จะยึดเอาไว้เสีย  เจ้าตากจึงรีบยกทัพไปเมืองชลบุรี
แล้วส่งเพื่อนฝูงของนายทองอยู่นกเล็กเกลี้ยกล่อม นายทองอยู่นกเล็ก
เห็นจะสู้รบไม่ไหวจึงยอมอ่อนน้อม เจ้าตากจึงตั้งนายทองอยู่นกเล็ก
เป็นพระยาอนุราฐบุรีตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองชลบุรี แล้วก็เลิกทัพกลับ
ฝ่ายพระยาจันทบุรีได้ปรึกษากับขุนรามหมื่นซ่องเห็นว่าจะรบพุ่งเอาชนะเจ้าตากซึ่ง หน้า
คงจะชนะยาก ด้วยเจ้าตากมีฝีมือเข้มแข็งทั้งรี้พลก็ชำนาญศึก จึงคิดกลอุบาย
จะโจมตีกองทัพเจ้าตากขณะกำลังข้ามน้ำเข้าเมืองจันทบุรี โดยนิมนต์พระสงฆ์ 4 รูป
 เป็นทูตมาเชิญเจ้าตากไปตั้งที่เมืองจันทบุรี แต่ในระหว่างเจ้าตากเดินทางจะข้ามน้ำ
เข้าเมืองจันทบุรีอยู่นั้นได้มีผู้ มาบอกให้เจ้าตากทราบกลอุบายนี้เสียก่อน 
เจ้าตากจึงให้เลี้ยวกระบวนทัพไปตั้งที่ชายเมืองด้านเหนือบริเวณวัดแก้ว 
ห่างประตูท่าช้างเมืองจันทบุรีประมาณ 5 เส้น แล้วเชิญพระยาจันทบุรีออกมา
หาเจ้าตากก่อนที่จะเข้าเมือง แต่พระยาจันทบุรีไม่ยอมออกมาต้อนรับพร้อมกับระดมคน
ประจำรักษาหน้าที่ เชิงเทิน เจ้า ตากได้ทบทวนถึงสถานการณ์ต่าง ๆ แล้ว 
เห็นว่าแม้ข้าศึกจะครั่นคร้ามฝีมือ ไม่กล้าโจมตีซึ่งหน้าก็ตาม
 แต่ฝ่ายพระยาจันทบุรีมีจำนวนมากกว่า 
ถ้าเจ้าตากล่าถอยไปเมื่อใด ทัพจันทบุรีก็จะล้อมไล่ตีได้หลายทาง 
เพราะไม่มีเสบียงอาหาร เจ้าตากจึงตัดสินใจจะต้องเข้าตีเมืองจันทบุรีในค่ำวันนี้ให้ได้ 
และแสดงออกถึงน้ำใจอันเด็ดเดี่ยวโดยสั่งนายทัพนายกองว่า
“เราจะตีเมืองจันทบุรีในค่ำ วันนี้ เมื่อกองทัพหุงข้าวเย็นกินเสร็จแล้ว
ทั้งนายไพร่ให้เททิ้งอาหารที่เหลือและ ต่อยหม้อเสียให้หมด
 หมายไปกินข้าวเช้าด้วยกันที่ในเมืองเอาพรุ่งนี้ ถ้าตีเอาเมืองไม่ได้ในค่ำวันนี้
ก็จะได้ตายเสียด้วยกันให้หมดทีเดียว”
ครั้นได้ฤกษ์เวลา 3 นาฬิกา เจ้าตากพร้อมด้วยทหารไทยจีนเข้าโจมตีเมืองจันทบุรี
อย่างเข้มแข็งและเด็ด เดี่ยวโดยเจ้าตากขี่ช้างพังคีรีบัญชรเข้าพังประตูเมืองได้สำเร็จ
พวกทหารก็กรูกันเข้าเมืองได้ ชาวเมืองต่างก็เสียขวัญละทิ้งหน้าที่แตกหนีไป 
ส่วนพระยาจันทบุรีพาครอบครัวลงเรือหนีไปเมืองบันทายมาศ
เมื่อเจ้าตากจัดเมืองจันทบุรีเรียบร้อยแล้ว ก็ยกทัพบกทัพเรือลงไปเมืองตราด 
พวกกรมการเมืองและราษฎรต่างยอมอ่อนน้อมโดยดี แต่ยังมีพ่อค้าในสำเภา
ที่จอดอยู่ปากน้ำเมืองตราดหลายลำไม่ยอมอ่อนน้อม 
เจ้าตากได้ยกทัพเรือโจมตีสำเภาจีนได้ทั้งหมดในครึ่งวัน และสามารถยึด
ทรัพย์สิ่งของได้เป็นจำนวนมาก ซึ่งสามารถนำมาจัดเตรียมกองทัพเข้ากู้เอกราช
เจ้าตากได้จัดการเมืองตราดเรียบร้อยก็ย่างเข้าสู่ฤดูฝนพอดี จึงยกกองทัพกลับเมืองจันทบุรี 
เพื่อตระเตรียมกำลังคน สะสมเสบียงอาหาร อาวุธยุทธภัณฑ์ และต่อเรือรบได้ถึง 100 ลำ 
รวบรวมกำลังคนเพิ่มได้อีกเป็นคนไทยจีน ประมาณ 5,000 คนเศษ 
กับมีข้าราชการในกรุงศรีอยุธยาได้หลบหนีพม่ามาร่วมด้วยอีกหลายคน และที่สำคัญก็คือ
หลวงศักดิ์นายเวรมหาดเล็ก นายสุดจินดาหุ้มแพรมหาดเล็ก
พอถึงเดือน 11 พ.ศ.2310 หลังสิ้นฤดูมรสุมแล้ว เจ้าตากก็ยกกองทัพเรือ
จากเมืองจันทบุรีเพื่อมากอบกู้เอกราช ระหว่างทางได้หยุดชำระความพระยาอนุราฐบุรี
ที่เมืองชลบุรี ซึ่งประพฤติตัวเยี่ยงโจรเข้าตีปล้นเรือลูกค้า ชำระได้ความเป็นสัตย์จริง 
จึงให้ประหารชีวิตพระยาอนุราฐบุรีเสีย แล้วยกทัพเรือเข้าปากแม่น้ำเจ้าพระยาในเดือน 12
กองทัพเรือภายใต้การบังคับบัญชาของเจ้าตากได้เข้าโจมตีเมืองธนบุรีเป็นครั้งแรก 
มีนายทองอินคนไทยที่พม่าให้รักษาเมืองอยู่ พอนายทองอินทราบข่าวว่า
เจ้าตากยกกองทัพเรือเข้ามาทางปากน้ำเจ้าพระยา ก็ให้คนรีบขึ้นไปบอกข่าวแก่สุกี้ 
พระนายกองแม่ทัพพม่าที่ค่ายโพธิ์สามต้น 
แล้วเรียกระดมพลขึ้นรักษาป้อมวิชเยนทร์  และหน้าแท่นเชิงเทิน
ครั้นกองทัพเรือเจ้าตากเดินทางมาถึง รี้พลที่รักษาเมืองธนบุรี กลับไม่มีใจสู้รบ
เพราะเห็นเป็นคนไทยด้วยกันเอง ดังนั้นกองทัพเรือของเจ้าตากเข้ารบพุ่งเพียงเล็กน้อย
ก็สามารถตีเมืองธนบุรี ได้ เจ้าตากให้ประหารชีวิตนายทองอินเสียแล้ว
เร่งยกกองทัพเรือไปตีกรุงศรีอยุธยาสุกี้แม่ทัพพม่าได้ข่าวเจ้าตากตีเมืองธนบุรีได้แล้ว
 ก็ส่งมองญ่านายทัพรองคุมพลซึ่งเป็นมอญและไทยยกกองทัพเรือไปสกัดกองทัพเรือ
 เจ้าตากอยู่ที่เพนียด เจ้าตากยกกองทัพเรือขึ้นไปถึงกรุงศรีอยุธยาเป็นเวลาค่ำ
สืบทราบว่ามีกองทัพ ข้าศึกยกมาตั้งรับคอยอยู่ที่เพนียดไม่ทราบว่ามีกำลังเท่าใด 
ฝ่ายพวกคนไทยที่ถูกเกณฑ์มาในกองทัพมองญ่ารู้ว่ากองทัพเรือที่ยกมานั้น
เป็นคน ไทยด้วยกัน ก็คิดจะหลบหนีบ้าง จะหาโอกาสเข้าร่วมกับเจ้าตากบ้าง
มองญ่าเห็นพวกคนไทยไม่เป็นอันจะต่อสู้เกรง ว่าจะพากันกบฏขึ้น 
จึงรีบหนีกลับไปค่ายโพธิ์สามต้นในคืนนั้น
เจ้าตากทราบจากพวกคนไทยที่หนีพม่ามาเข้าด้วยว่า พม่าถอยหนีจากเพนียดหมดแล้ว
 ก็รีบยกกองทัพขึ้นไป ตีค่ายพม่าที่โพธิ์สามต้น 2 ค่าย พร้อมกันในตอนเช้า
 สู้รบกันจนเที่ยง เจ้าตากก็เข้าค่ายพม่าได้ สุกี้ตายในที่รบ จึงถือว่า
เจ้าตากได้กอบกู้เอกราชชาติไทยกลับคืนมาได้แล้ว
หลังจากที่ไทยต้องสูญเสียเอกราชในครั้งนี้เพียง 7 เดือน
ภายหลังที่พระเจ้าตากมีชัยชนะกับพม่าแล้ว ทรงทำพิธีปราบดาภิเษก
เป็นกษัตริย์ครองกรุงธนบุรี 
ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ชาติบ้านเมืองเพิ่งเป็นอิสระจากพม่า จิตใจของประชาราษฎร
ยังระส่ำระสาย ประกอบกับสภาพบ้านเมืองที่ถูกข้าศึกเผาผลาญทำลายปรากฎ
ให้เห็นอยู่ทั่วไป ก็ยิ่งก่อให้เกิดความเศร้าโศกสะเทือนใจจนยากที่จะหาสิ่งใด
มาลบล้างความ รู้สึกสลดหดหู่นั้นได้ บ้านเมืองยังต้องการความสมัครสมานสามัคคี
ของคนในชาติจะต้องเรียกขวัญและ กำลังใจของประชาชนให้กลับคืน
 อยู่ในสภาพปกติโดยเร็วที่สุด ไหนจะต้องป้องกันศัตรูจากภายนอกประเทศ
ที่คอยหาโอกาสจะเข้ารุกราน จึงต้องรวบรวมคนไทยที่แบ่งเป็นก๊กเป็นเหล่า
ถึง 5 ก๊ก คือ
ก๊กที่ 1 เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ตั้งตัวเป็นเจ้าที่เมืองพิษณุโลก
ก๊กที่ 2 เจ้าพระฝาง (เรือน) อยู่ที่วัดพระฝาง เมืองสวางคบุรี
 ตั้งตัวเป็นเจ้าทั้งที่ยังเป็นพระ
ก๊กที่ 3 เจ้านคร (หนู) เดิมเป็นปลัดผู้รั้งเมืองนครศรีธรรมราช
ก๊กที่ 4 กรมหมื่นเทพพิพิธ ตั้งตัวเป็นใหญ่ที่เมืองพิมาย
ก๊กที่ 5 คือก๊กพระยาตาก ตั้งตัวเป็นใหญ่ที่เมืองจันทบุรี
ซึ่งก๊กต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นพระราชภาระที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจะต้อง
ทรงกระทำโดย เร็ว ดังจะได้จำแนกพระราชกรณียกิจของพระองค์ออกเป็น 2 ด้านคือ 
การสร้างชาติให้เป็นปึกแผ่นมั่นคง และการฟื้นฟูบ้านเมืองทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ
การสร้างชาติให้เป็นปึกแผ่นมั่นคง
ทรงกระทำตลอดรัชกาลของพระองค์ นับตั้งแต่การปราบปรามชาวไทยที่แบ่งเป็นก๊กต่าง ๆ 
การปราบปรามหัวเมืองที่กระด้างกระเดื่อง ตลอดจนการทำสงครามกับพม่าทำให้พม่าลบคำดูหมิ่นไทย เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจแก่ชาวไทยที่ยังไม่หายครั่นคร้ามพม่าได้มีกำลัง ใจดีขึ้น ดังนี้
1. การปราบปรามก๊กต่าง ๆ
พ.ศ.2311 ยกกองทัพไปปราบกรมหมื่นเทพพิพิธได้สำเร็จ 
แล้วสำเร็จโทษกรมหมื่นเทพพิพิธด้วยท่อนจันทน์ ตามประเพณี
พ.ศ.2312 ยกทัพบกและทัพเรือไปปราบเจ้านครศรีธรรมราชได้สำเร็จ
เมืองตานี และไทรบุรี ขอยอมเข้ารวมเป็นขัณฑสีมาด้วยกัน
พ.ศ.2313 ยกกองทัพไปตีเมืองสวางคบุรี 
ขณะที่เจ้าพระฝางตีได้เมืองพิษณุโลกแล้ว
จึงยกกองทัพเข้าล้อมเมืองพิษณุโลก เจ้าพระฝางฝ่าแนวล้อมหนีรอดไปได้
2. การทำสงครามกับพม่า
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงทำศึกกับพม่า ถึง 9 ครั้ง 
แต่ละครั้งแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถของพระองค์ทางด้านยุทธศาสตร์
อย่างดี เยี่ยม พร้อมด้วยน้ำพระทัยที่เด็ดเดี่ยวฉับไว การทำสงครามกับพม่าดังกล่าว 
ได้แก่ สงครามครั้งที่ 1 รบพม่าที่บางกุ้ง พ.ศ.2310
สงครามครั้งที่ 2 พม่าตีเมืองสวรรคโลก พ.ศ.2313
สงครามครั้งที่ 3 ไทยตีเมืองเชียงใหม่ครั้งแรก พ.ศ.2313 - 2314
สงครามครั้งที่ 4 พม่าตีเมืองพิชัยครั้งที่ 1 พ.ศ.2315
สงครามครั้งที่ 5 พม่าตีเมืองพิชัยครั้งที่ 2 พ.ศ.2316
สงครามครั้งที่ 6 ไทยตีเมืองเชียงใหม่ครั้งที่ 2 พ.ศ.2317
สงครามครั้งที่ 7 รบพม่าที่บางแก้วเมืองราชบุรี พ.ศ.2317
สงครามครั้งที่ 8 อะแซหวุ่นกี้ตีหัวเมืองเหนือ พ.ศ.2318
สงครามครั้งที่ 9 พม่าตีเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. 2319
สำหรับสงครามรบพม่าที่บางแก้วเมืองราชบุรี พ.ศ. 2317 
เป็นสงครามที่ทำให้พม่าครั่นคร้าม และเข็ดหลาบไม่กล้ามารุกรานไทยอีกต่อไป
3. การขยายพระราชอาณาเขต
ไปยังหลวงพระบางและเวียงจันทน์
พ.ศ.2321 พระเจ้านครหลวงพระบางขอสวามิภักดิ์เข้ารวมในพระราชอาณาจักร 
ส่วนนครเวียงจันทน์ซึ่งตกเป็นเมืองขึ้นพม่าตั้งแต่ พ.ศ.2317 
ได้กระทำการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
โดยเดินทัพเข้ามาในพระราชอาณาเขต เพื่อกำจัดพระวอเสนาบดีเมืองเวียงจันทน์ 
ซึ่งได้เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร สมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรีจึงโปรดให้
กองทัพไทยยกไปตีเมืองเวียงจันทน์ ได้ เมื่อ พ.ศ.2322 โปรดให้พระยาสุโภ
อยู่รักษาเมืองเมื่อเสร็จสงคราม สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก 
ได้อัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฎิมากร (พระแก้วมรกต) 
และพระบาง จากเวียงจันทน์ มาประดิษฐาน ณ กรุงธนบุรีด้วย
4. การขยายพระราชอาณาเขตไปยังกัมพูชา
พ.ศ.2312 ทรงโปรดให้ยกกองทัพไปตีกรุงกัมพูชา 
เนื่องจากเจ้าเมืองกัมพูชาไม่ยอมส่งเครื่องราชบรรณาการดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง
 ตามราชประเพณีที่เคยปฏิบัติมา ทัพไทยตีได้เมืองเสียมราฐ และพระตะบอง
พ.ศ. 2314 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงยกกองทัพไปตีกัมพูชาได้สำเร็จ 
สาเหตุจากขณะไทยทำศึกกับพม่าอยู่ที่เมืองเชียงใหม่ สมเด็จพระนารายณ์ราชา
กษัตริย์กรุงกัมพูชาได้ถือโอกาสมาตีเมืองตราด และเมือง จันทบุรี เมื่อตีกัมพูชาได้แล้ว
ทรงมอบให้นักองค์นนท์ปกครองต่อไป
พ.ศ.2323 กัมพูชาเกิดจลาจลแย่งชิงราชสมบัติกันเอง จึงเหลือนักองค์เอง
 ที่มีพระชนม์เพียง 4 พรรษา ปกครองโดยมีฟ้าทะละหะ (มู) ว่าราชการแทน 
และเอาใจออกห่างฝักใฝ่ญวน สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ทรงโปรดให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และเจ้าพระยาสุรสีห์ไปปราบปราม
และมีพระราชโองการให้อภิเษกสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์
พระราชโอรสองค์ ใหญ่ขึ้นครองกัมพูชา ทัพไทยตีเมืองรายทางได้
จนถึงเมืองบัณฑายเพชร พอดีกับกรุงธนบุรีเกิดจลาจลจึงเลิกทัพกลับ

แผนที่สยามประเทศ :

 อาณาจักรกรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร

 ๒๓๑๐-๒๓๒๕

คลิกที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่
อาณาเขตกรุงธนบุรีได้ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง ดังนี้
ทิศเหนือ   ตลอดอาณาจักรลานนา
ทิศใต้     ตลอดเมืองไทรบุรีและตรังกานู
ทิศตะวันออก     ตลอดกัมพูชาจดญวนใต้
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ     ตลอดนครเวียงจันทน์ หัวเมืองพวน 
และนครหลวงพระบาง หัวพันทั้งห้าทั้งหก
ทิศตะวันออกเฉียงใต้     ตลอดเมืองพุทธไธมาศ
ทิศตะวันตก     ตลอดเมืองมะริด และตะนาวศรีออกมหาสมุทรอินเดีย
พระ เจ้าตากสินมหาราช ทรงเป็นผู้สร้างวีรกรรมกอบกู้แผ่นดิน ศาสนา 
ฟื้นฟูขวัญและกำลังใจของปวงชนที่สิ้นหวังให้รวมพลังเป็นปึกแผ่น 
สามารถปกป้องรักษาราชอาณาจักรไทยไว้ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่นี้ 
คณะรัฐมนตรีจึงให้ความเห็นชอบตามคำเรียกร้องของประชาชน 
ให้ถวายพระราชสมัญญานามว่า “ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ” 
เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2524
ข้อมูลจากเว็บไซต์กองทัพเรือ 
http://navy.mi.th
ภาพจากวัดเชิงท่า พระนครศรีอยุธยา

แม้ทหารที่จงรักภักดีกับพระเจ้าตากสิน จะพร้อมพลีชีพเพื่อพระองค์ 

แต่ก็มีพระราชดำรัสว่า “สิ้นบุญพ่อแล้ว อย่าให้ยากแก่ไพร่เลย”