Freigegeben Surachai sofort und ohne Bedingungen.

The law is silent @ the time of war.Liberate Thailand to Frees.‎Our real enemy is monarchy system.

วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ป้อ เรียกสางเขียวลุกรักของป้อ ทำกบฏอีกซิฮะ



ป้อฮะ ป๋มเห็นสถิติ รัฐประหาร (กบฏ) ของไทย
เห็นแล้ว ป๋ม โมโห ควันออกหูเรยฮะ
ประเทศไทยของ ป้อ ได้แค่ที่ 4 ร่วม กับซีเรีย โตโก กีนี

ป้อ เรียกสางเขียวลุกรักของป้อ ทำกบฏอีกซิฮะ
อีกแค่ 2 ครั้งเอง ก่องที่ป้อจะลาโลกเส็งเคร็งใบนี้ไปเสีย
เราจะได้เลื่อนเป็นอันดับ 3 ร่วม กับ โบลิเวีย
ดูสภาพทุกวันนี้ เราก็ไม่ได้ต่างจากโบลิเวียมากเท่าไหร่
ป้อ เอาเรยฮะ ป๋ม เชียร์ แล้ว ชื่อป้อ จะได้ติดกินเนสส์บุ๊คฮะ

ไทยแชมป์อันดับที่ 4 ของโลก
ประเทศที่มีการรัฐประหารบ่อยที่สุดในโลก

คนไทยส่วนใหญ่รู้ดีว่าประเทศไทยมีรัฐประหารบ่อย
แต่จริงๆแล้วเรามีบ่อยแค่ไหน และมีใครอื่นอีกไหม

ที่รัฐประหารบ่อย พอๆกับเรา

องค์กร The Center for Systemic Peace (CSP)
ได้รวบรวมข้อมูลรัฐประหารของประเทศต่างๆทั่วโลกตั้งแต่
ปี 1946 ถึง 2010 โดยกำหนดให้นิยามของการทำรัฐประหารหมายถึง
การใช้กำลังเข้ายึดอำนาจบริหารสูงสุดโดยกลุ่มการเมือง
ภายในประเทศนั้นๆแล้วทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขั้วอำนาจ

ข้อมูลจะถูกนับรวมทั้ง
(1) รัฐประหารที่ทำสำเร็จ
(2) ที่ไม่สำเร็จ
(3) ที่่เป็นเพียงแผนการยังไม่ได้ลงมือ
และ (4) ที่ถูกกล่าวหาว่ากำลังวางแผ

แต่ไม่นับรวมการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง
การลุกฮือของประชาชน สงครามกลางเมือง การลงจากอำนาจ
โดยสมัครใจ การส่งต่ออำนาจให้ทายาททางการเมือง
การเสียชีวิตของผู้นำ การลอบสังหารผู้นำ และการถูกรุกราน
จากกองกำลังต่างชาติ

ด้วยนิยามข้างต้น ปรากฏจำนวนดังนี้

31 ครั้ง – ซูดาน
24 ครั้ง – อิรัก
19 ครั้ง – โบลิเวีย
17 ครั้ง – กีนี-บิสเซา (Guinea-Bissau), ซีเรีย, โตโก, ไทย
16 ครั้ง – บูรุนดี (Burundi), ชาด (Chad)
15 ครั้ง – อาร์เจนตินา, กาน่า, กีนี (Guinea)

โดยในกลุ่มประเทศหัวตารางที่ยกมา มี 8 ประเทศ
(กาน่า, ไทย, ชาด, กีนี-บิสเซา, ซูดาน, โตโก, กีนี, บูรุนดี)
ที่ยังมีรัฐประหารเกิดขึ้นตั้งแต่หลังปี 2000 เป็นต้นมา

สรุปว่าประเทศไทยมีรัฐประหารบ่อยครั้งเป็นอันดับ 4 ของโลก

ตัวอย่างประเทศอื่นๆ : เซียร่า-ลีโอน (14) ปานามา (13)
กัมพูชา (12) ฟิลิปปินส์ (11) บังกลาเทศ (8) พม่า (6) ลาว (6)
อินโดนิเซีย (5) ปากีสถาน (5) เนปาล (5) แคเมอรูน (4)
เกาหลีใต้ (3) เกาหลีเหนือ (2) อินเดีย (1) ซาอุฯ (1) ศรีลังกา (1)


เรื่องดังกล่าวอาจทำให้เราต้องเริ่มตั้งคำถามว่าเกิดอะไรกับการ
พัฒนาประชาธิปไตยในประเทศไทยที่กำลังจะมีอายุครบ 80 ปี
ในปี 2555

อ้างอิง:
1. ตารางข้อมูลดิบ

 http://www.systemicpeace.org/inscr/CSPCoupsList2010.xls
2. สำหรับผู้ที่สนใจว่า CSP เก็บข้อมูลจากไหน อ้างอิงจากแหล่งไหน
และนิยามว่าเหตุการณ์ใดเป็นหรือไม่เป็นรัฐประหารบ้าง
สามารถอ่านรายงานได้ที่

http://www.systemicpeace.org/inscr/CSPCoupsCodebook2010.pdf