Freigegeben Surachai sofort und ohne Bedingungen.

The law is silent @ the time of war.Liberate Thailand to Frees.‎Our real enemy is monarchy system.

วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2554

สังคมนานาชาติ สงสัยกรมชลประทาน ทำไมไม่ปล่อยน้ำที่ล้นตั้งแต่แรก รอจนกระทั่งเจอพายุฝนที่ผิดปกติในปีนี้ ต้องมีใครอยู่เบื้องหลัง


Wall Street Journal: ผู้นำใหม่ของไทยสะดุดน้ำท่วม
ผู้สื่อข่าววอลล์สตรีทเจอนัล ชี้สถานการณ์น้ำท่วมในไทยส่งผลต่อภาพลักษณ์รัฐบาลยิ่งลักษณ์ แม้จะมีความพยายามสกัดน้ำท่วมจาก 'วอร์รูม' ที่ประสานกันจากรัฐบาลประชานิยม-กลุ่มอนุรักษ์นิยม-ผู้นำเหล่าทัพก็ตาม ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญตั้งคำถามถึง จนท.กรมชลประทานที่ไม่ยอมปล่อยน้ำที่ล้นเกินตั้งแต่แรก กระทั่งมีพายุฝนกระหน่ำ ขณะที่ในปีก่อนเจ้าหน้าที่กลับได้ปล่อยน้ำจากแหล่งเก็บน้ำตั้งแต่เดือน ก.ค.
19 ต.ค. 2554 เจมส์ ฮุกเวย์ ผู้สื่อข่าววอลล์สตรีทเจอนัลรายงานเรื่องสถานการณ์น้ำท่วมในประเทศไทย ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
โดยรายงานข่าวระบุว่า การวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการรับมือกับปัญหาน้ำท่วมครั้งร้ายแรงที่สุดในรอบครึ่งศตวรรษ ทำให้ความน่าเชื่อถือของนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตรเสื่อมลง จากการที่มูลค่าความเสียหายจากน้ำท่วมมากขึ้นเรื่อยๆ และรัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็ยืนยันแผนการอัดฉีดเงินกว่าพันล้านเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจซบเซา
นักวิเคราะห์กล่าวว่าปัญหาใหญ่ที่สุดของนางยิ่งลักษณ์คือการปล่อยข้อมูลเรื่องน้ำท่วมอย่างส่งเดช จนเป็นเหตุให้รัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์ต้องออกประกาศด่วนในสัปดาห์ก่อนให้มีการอพยพบางส่วนในพื้นที่เขตกรุงเทพฯ
การไหลบ่าของข้อมูลที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ ทำให้ผู้อยู่อาศัยที่ตื่นตระหนกและบริษัทต่างชาติที่หวาดกลัวต่างพากันปิดโรงงานทั่วประเทศไทยเพื่อยื้อเวลาการแก้ไขวิกฤติในครั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยประเมินว่าเหตุอุทกภัยในครั้งนี้ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิต 315 รายและทำให้สูญเสียงานไปกว่าหลายแสน จะทำให้อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศลดลงร้อยละ 1.7 เนื่องจากปัญหาน้ำท่วมทำให้ห่วงโซ่อุปทานหยุดชะงักไปทั่วเอเชียและที่อื่นๆ
เมื่อวันอังคาร (18 ต.ค.) ที่ผ่านมารัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็อนุมัติแผนทุ่มงบประมาณขาดดุลเพิ่ม 4 แสนล้าน บาทในปีงบประมาณใหม่เริ่มตั้งแต่ 1 ต.ค. นี้ เทียบกับเงินเป้าหมายตั้งต้น 3 แสน 5 หมื่นล้านบาท เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ซบเซาของไทนและเพื่อช่วยเหลือประชาชนกว่าแสนคนที่ได้รับผลกระทบจากภัยน้ำท่วม
ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ก่อนหน้านี้เคยบอกว่ากรุงเทพฯ ได้ผ่านวิกฤติน้ำท่วมครั้งที่เลวร้ายที่สุดมาแล้ว ก็ออกมาแถลงข่าวในภาวะเร่งด่วนเมื่อคืนวันจันทร์ (17 ต.ค.) บอกว่ากรุงเทพจะประสบกับน้ำท่วมภายในอีก 2 วันถัดไป โดยบอกให้ประชาชนคอยระวังตัวและอย่างตื่นตระหนก ก่อนจะขอความช่วยเหลือด้านกระสอบทราย ในวันอังคารมีทหารและอาสาสมัครพลเรือนรุดไปช่วยกันสร้างทำนบกั้นน้ำโดยใช้กระสอบทรายกั้นช่วงตอนเหนือกรุงเทพฯ เป็นความพยายามสุดท้ายในการสกัดกั้นน้ำ
ตามทฤษฎีแล้ว ความพยายามสกัดกั้นน้ำท่วมในไทยจะมาจากการ 'วอร์รูม' กันในเขตสนามบินเก่าของกรุงเทพ ที่ซึ่งกลุ่มคนที่มีความขัดแย้งทางการเมืองมานั่งร่วมโต๊ะหารือกันอย่างรอบคอบไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลประชานิยมกับอำมาตย์อนุรักษ์นิยมและผู้นำเหล่าทัพซึ่งทำรัฐประหารเมื่อ 5 ปีก่อน รวมถึงสังหารประชาชนผู้ชุมนุมประท้วงทางการเมืองกว่า 90 ราย
ในความเป็นจริงแล้ว นักวิเคราะห์บอกว่า ยิ่งลักษณ์ต้องเผชิญหน้าและจัดการกับสถานการณ์
ที่เปรียบเสมือนบททดสอบครั้งใหญ่ในการทำงานเป็นรัฐบาลซึ่งเพิ่งมีอายุ 2 เดือน เนื่องจากรัฐบาลนี้ถูกมองอย่างกว้างขวางว่าถูกควบคุมโดยอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร พี่ชายของเธอซึ่งอยู่ที่ดูไบหลังจากถูกทำรัฐประหารเมื่อ 5 ปีก่อน
"คุณยิ่งลักษณ์หน้าที่ของเธอได้ดีสมกับความน่าเชื่อถือเราเห็นเธอไปทุกที่" ปวิน ชัชวาลย์พงศ์พันธ์ จากสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาในสิงคโปร์กล่าว "แต่รัฐบาลเอง ทั้งๆ ที่รู้ว่าจะเกิดน้ำท่วมจากเมื่อสองเดือนก่อน แต่ก็ยังคงทำอะไรน้อยมากในการป้องกัน นี่เป็นภาวะวิกฤติผู้นำ"
นับตั้งแต่ปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์ ทำตัวแตกแถวในวันพฤหัสฯ (13 ต.ค.) โดยรุดออกจากห้องประชุมเกี่ยวกับวิกฤติการณ์เพื่อบอกกับชาวกรุงเทพฯ ตอนเหนือว่าให้ออกจากบ้านทันทีเพื่อหนีน้ำท่วม เรื่องนี้ทำให้ชาวไทยหลายคนแปลกใจจากการที่คุณปลอดประสพเคยเป็นผู้บริหารที่ทำกิจการอันน่าตื่นเต้นอย่างที่รู้จักกันดีคือการนำเมนูเนื้อสัตว์แปลกๆ อย่างม้าลายและจระเข้ลงในเมนูของไนท์ ซาฟารี ในจังหวัดเชียงใหม่
การป้องกันน้ำท่วมในกรุงเทพฯ ยังคงดีอยู่ ซึ่งต่อมาคุณปลอดประสพได้ขอโทษเรื่องที่เขาสับสน แต่ก็ทำให้มีประชาชนจำนวนมากหนีออกจากบ้านในตอนกลางคืนและเกิดความแตกตื่นไปทั่วเมือง และหลังจากนั้น ม.ร.ว. สุขุมพันธ์ ก็บอกให้ชาวกทม. ฟังเขาและเชื่อเชาคนเดียว
หลังจากนั้นมาการโต้เถียงกันเรื่องวิกฤติน้ำท่วมในประเทศไทยก็เริ่มเผ็ดร้อนมากขึ้น อดีตนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่เคยเจอกับปัญหาน้ำท่วมในสเกลที่เล็กกว่าเมื่อปีที่แล้วก็แนะนำให้ยิ่งลักษณ์ประกาศภาวะฉุกเฉินและเลื่อนการออกงบประมาณสำหรับโครงการประชานิยมซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการณรงค์หาเสียงจนชนะการเลือกตั้งก่อนหน้านี้ การประกาศภาวะฉุกเฉินนั้นจะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับทหารไทยในการบรรเทาสาธารณภัยและช่วยให้สามารถเป็นมือที่สามเวลามีความขัดแย้งชองชาวบ้านเวลาที่ออกตามหาของหายหลังน้ำท่วม
จนบัดนี้ยิ่งลักษณ์ยังคงปฏิเสธการประกาศภาวะฉุกเฉิน โดยบอกว่าจะทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติหวาดกลัวเนื่องจากประเทศไทยกำลังเตรียมการเข้าสู่ช่วงฤดูท่องเที่ยว
นักสังเกตการณ์รายอื่นๆ ตั้งคำถามว่าทำไมเจ้าหน้าที่ชลประทานถึงไม่ทำการปล่อยน้ำที่ล้นเกินจากแหล่งเก็บน้ำตั้งแต่แรก จนกระทั่งเกิดผลกระทบจากพายุฝนที่โหดกระหน่ำผิดปกติในปีนี้แล้ว ซึ่งในปีก่อนหน้านี้เจ้าหน้าที่ชลประทานได้ปล่อยน้ำออกจากเขื่อนและแหล่งเก็บน้ำตั้งแต่เดือน ก.ค.
ในระหว่างนั้นรัฐบาลก็ส่งสัญญาณออกมาหลายอย่าง ขณะที่น้ำท่วมเขตโรงงานเพิ่มมากขึ้น มีโรงงานแหล่งที่ 6 ต้องปิดไปเมื่อวันจันทร์ (17 ต.ค.) ที่ผ่านมา กลุ่มธุรกิจก็เริ่มสงสัยว่าวิกฤติในครั้งนี้จะเกิดอีกนานแค่ไหน
หนึ่งในนั้นคือโรงงานบริษัทฮอนด้ามอเตอร์ของไทย ซึ่งถูกน้ำท่วม และโตโยต้ามอเตอร์ก้บอกว่าจะปิดโรงงานในไทยเพิ่มเมื่อวันที่ 14 ต.ค. ที่ผ่านมา จนกระทั่งถึงช่วงปลายสัปดาห์เป็นอย่างน้อย เนื่องจากผู้ผลิตวัตถุดิบรายสำคัญยังคงประสบกับภาวะน้ำท่วม กลุ่มผู้ผลิต อุปกรณ์กึ่งตัวนำ (Semiconductors) และฮาร์ดไดรฟ์ (hard drives) ก็ได้รับผลกระทบไปด้วย โดยกลุ่มธุรกิจกล่าวตำหนิว่ารัฐบาลไทยไม่ออกวิธีแก้ปัญหาในระยะยาวให้กับปัญหาน้ำท่วมไทย
กลุ่มธุรกิจของญี่ปุ่นเคยกล่าวไว้แล้วว่าบริษัทญี่ปุ่นจำนวนมากรวมถึงผู้ลงทุนรายใหญ่ในไทยจำนวนมากไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นและข้อมูลใดที่แม่นยำ
"พวกเขาได้รับคำเตือนแต่ก็มีข้อมูลไม่มากพอและมีเวลาไม่มากพอจะตัดสินใจว่าจะดำเนินการอย่างไร" เซยะ ซุเกะกาว่า นักเศรษฐศาสตร์ประจำองค์กรส่งเสริมการค้าธุรกิจระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (Japan External Trade Organization-JETRO) ประจำประเทศไทยกล่าว

ที่มา: Floods Set Back New Thai Leader, The Wall Street Journal, 19-10-2011